รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 มีนาคม 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
หมดกังวลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและกล้ามเนื้ออ่อนแรง สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ผลิตนวัตกรรมสุขภาพล้ำยุค อุปกรณ์ตรวจวัดกลูโคสจากเหงื่อในรูปแบบนาฬิกาอัจฉริยะแบบ Real Time แม่นยำ ไม่เจ็บตัว ลดภาระค่าใช้จ่าย ทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างชาติ จ่อใช้จริงเร็วๆ นี้
คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยสุดยอดนวัตกรรมอุปกรณ์ในรูปแบบนาฬิกาข้อมือ สำหรับตรวจระดับปริมาณน้ำตาลกลูโคสและสารแลคเตท ซึ่งเจือปนอยู่ในเหงื่อบนร่างกายคนไข้โรคเบาหวานได้สำเร็จ โดยร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์และเภสัช ประจำปี 2564 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
“รายงานทางการแพทย์ระบุชัดเจนว่าปริมาณน้ำตาลในเหงื่อสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำตาลในเลือด เราจึงนำผลสรุปที่ได้นี้ไปพัฒนาต่อเป็นนวัตกรรมที่ช่วยบอกระดับน้ำตาลในตัวผู้ป่วยได้รวดเร็วแบบเรียลไทม์ ซึ่งสำคัญมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องหมั่นดูแลและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ” ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
“นอกจากนี้ นวัตกรรมนี้ยังช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ คนไข้ไม่ต้องเสียเงินหรือเสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาลซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้”
เบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ จากรายงานของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยพบว่า ปี 2563 คนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวนสูงถึง 5 ล้านคน ที่สำคัญ โรคเบาหวานยังส่งผลกระทบให้ผู้ป่วย มีภาวะ “กล้ามเนื้ออ่อนแรง” อันเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันและเส้นประสาทภายใน
ปัจจุบัน วิธีการตามมาตรฐานทางการแพทย์จะใช้วิธีการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ เพื่อตรวจปริมาณกลูโคสสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และตรวจปริมาณแลคเตท สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
“การรู้ระดับน้ำตาลในเลือดและแลคเตทแบบเรียลไทม์จะช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตัวเอง ปรับพฤติกรรม หรือรีบไปพบแพทย์ให้ทันท่วงทีเพื่อรับการรักษาก่อนที่จะเกิดอันตราย เราจึงคิดค้นวิธีการที่รวดเร็วกว่า ได้ผลแม่นยำ โดยไม่ต้องเจาะเลือด” ดร.นาฏนัดดากล่าว
โครงการความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ และ สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาวัสดุเส้นด้ายชนิดพิเศษที่ได้รับการดัดแปรทางเคมีเพื่อให้ดูดซับเหงื่อและไวต่อการทำปฏิกิริยากับสารบ่งชี้ทางชีวภาพได้อย่างจำเพาะเจาะจง ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับรู้ค่ากลูโคสและแลดเตทในเลือดได้ตลอดเวลาที่สวมใส่นาฬิกาอัจฉริยะ
“อุปกรณ์นี้สามารถทำการตรวจวัดปริมาณสารได้ถึง 2 วิธีการภายในเครื่องเดียวกัน คือ ใช้วิธีดูการเปลี่ยนสีของเซนเซอร์ (sensor) หรือตัวรับรู้ ที่ผู้สวมใส่สามารถอ่านค่าได้จากการเทียบกับแถบสีมาตรฐาน และใช้การตรวจวัดด้วยเซนเซอร์อีกตัวหนึ่งที่สามารถแสดงผลเป็นตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกาได้โดยตรง” ดร.นาฏนัดดาอธิบาย
ในขั้นตอนต่อไปคณะนักวิจัยจะทดสอบประสิทธิภาพของนาฬิกากับผู้ป่วยเบาหวานและกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยได้รับความร่วมมือจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคเบาหวานและคลินิกผู้สูงวัยสุขภาพดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อทดสอบให้แน่ใจในประสิทธิภาพการใช้งานแล้ว ก็เตรียมพัฒนาสู่การใช้จริงบนข้อมือผู้ป่วยเบาหวานได้อีกไม่นาน คณะวิจัยยังประเมินอีกว่า หากนวัตกรรมนาฬิกาอัจฉริยะได้รับความนิยมแพร่หลายจะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ราคาสูงจากต่างประเทศได้ด้วย
ปัจจุบัน คณะนักวิจัยกำลังทดสอบประสิทธิภาพของนาฬิกากับผู้ป่วยเบาหวานและกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยได้รับความร่วมมือจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคเบาหวานและคลินิกผู้สูงวัยสุขภาพดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อทดสอบให้แน่ใจในประสิทธิภาพการใช้งานแล้ว ก็เตรียมพัฒนาสู่การใช้จริงบนข้อมือผู้ป่วยเบาหวานได้อีกไม่นาน คณะวิจัยยังประเมินอีกว่า หากนวัตกรรมนาฬิกาอัจฉริยะได้รับความนิยมแพร่หลายจะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ราคาสูงจากต่างประเทศได้ด้วย
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ จัดสัมมนาว่าด้วยความเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียสู่สากล เรื่อง “พหุสังคมในคลองตะเคียน”
จุฬาฯ ย้อมสยามเป็นสีชมพู ใน “CHULA BAKA BEGINS” พร้อมลั่นกลองศึกบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 สุดยิ่งใหญ่
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง รุ่นที่ 4″
22 มี.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เปิดรับสมัครนิสิตปริญญาโทครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ประจำปี 2568
คอร์สเรียน CUVIP เดือนกุมภาพันธ์ “Lesson of Love บทเรียนรัก พิทักษ์ความสัมพันธ์”
4-18 ก.พ. 68
ศศินทร์จัด Open House วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568
15 ก.พ. 68 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้