ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จ่อใช้ “เตียงคนไข้อัจฉริยะ” มั่นใจผู้ป่วยสูงวัยไม่ตกเตียง

วิศวฯ จุฬาฯ และ กลุ่มทรู จับมือโรงพยาบาลจุฬาฯ สภากาชาดไทย อวดโฉมเตียงอัจฉริยะ 5G นวัตกรรมต้นแบบป้องกันผู้ป่วยสูงอายุตกเตียง พร้อมใช้งานจริงในโรงพยาบาลและที่บ้าน

อุบัติเหตุผู้สูงอายุพลัดตกเตียงขณะลุกขึ้นนั่งถือเป็นปัญหาหนักอกของลูกหลานและผู้ดูแล ยิ่งผู้ป่วยวัยชราที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยและไม่มีผู้ดูแลใกล้ชิดข้างเตียงตลอดเวลา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประดิษฐ์ “เตียงผู้ป่วยอัจฉริยะ” เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุตกเตียงของผู้สูงวัย

“โดยทั่วไป เตียงคนไข้ที่โรงพยาบาลใช้อยู่เป็น Pressure Pad หรือแผ่นความดันวางบนฟูก อุปกรณ์นี้บอกได้เพียงว่ามีผู้นอนอยู่บนเตียงหรือไม่ ซึ่งเวลาที่มีเสียงสัญญาณเตือนก็หมายถึงคนไข้ตกจากเตียงไปแล้ว” ผศ.ดร.กฤษฎา พนมเชิง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เผยที่มาโครงการวิจัย “เตียงอัจฉริยะ”

“หัวใจของเตียงอัจฉริยะอยู่ที่ระบบเซ็นเซอร์ ที่คอยตรวจจับการเคลื่อนไหวของคนไข้บนเตียง ไม่ว่าจะลุกขึ้นนั่งหรือขยับตัวลงจากเตียง โดยเทคโนโลยีระบบเซ็นเซอร์ 5G จะส่งสัญญาณเตือนไปยังผู้ดูแล เพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือดูแลได้ทันท่วงที”

ผศ.ดร.กฤษฎา หัวหน้าโครงการวิจัย เผยถึงกลไกการทำงานของเตียงอัจฉริยะว่าประกอบด้วยเซ็นเซอร์ต่างๆ อาทิ เซ็นเซอร์วัดน้ำหนักแบบ strain gauge เพื่อตรวจจับแรงกดหรือน้ำหนักตัวคนไข้ เซ็นเซอร์ตรวจจับตำแหน่งของคนไข้ เพื่อจะได้รู้ว่าคนไข้อยู่ตรงไหนของเตียงและสุ่มเสี่ยงจะตกเตียงหรือไม่ เซ็นเซอร์ม่านแสงเพื่อตรวจจับการเคลื่อนที่ซึ่งจะทำงานอย่างแม่นยำและรวดเร็ว และเซ็นเซอร์วัดระดับการยกขึ้นลงของหัวเตียงเพื่อตรวจสอบท่าทางของคนไข้และผู้สูงอายุ

“เซ็นเซอร์ทั้งหมดเชื่อมต่อกันและควบคุมด้วยระบบ 5G ซึ่งจะส่งข้อมูลที่ประมวลผลแล้วไปยัง Cloud ที่เชื่อมกับศูนย์มอนิเตอร์และโทรศัพท์มือถือของแพทย์และพยาบาล จะได้รู้ว่าคนไข้อยู่ตำแหน่งใด ลุกจากเตียงหรือไม่ เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือได้ทัน”  

ผศ.ดร.กฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่าอุปกรณ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบให้ปรับใช้ได้กับเตียงผู้ป่วยหลากหลายรุ่น แถมยังถอดประกอบและติดตั้งง่าย ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก และราคาย่อมเยา

ปัจจุบัน เตียงผู้ป่วยอัจฉริยะอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรภายใต้สถาบันทรัพย์สินทางปัญญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และกลุ่มทรู กำลังส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ทดลองใช้จริง ซึ่งในอนาคตจะได้ขยายผลให้ผู้ป่วยทุกวอร์ดในโรงพยาบาลได้อุ่นใจบนเตียงอัจฉริยะนี้  

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า