ข่าวสารจุฬาฯ

โครงการจับคู่นักวิจัยมหาวิทยาลัยกับ SMEs พัฒนา 13 โรงงานต้นแบบในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ พัฒนาโรงงานต้นแบบระดับ SMEs ด้านพลาสติกและด้านฟอกหนังรวม 13 แห่ง ในโครงการวิจัย “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” หนุนมหาวิทยาลัยร่วมมือกับภาคเอกชนในการสร้างอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ยกระดับกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน

เมื่อวันอังคารที่ 16 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม 201 อาคารวิจัยจุฬาฯ คุณพงษ์เทพ จารุอําพรพรรณ อดีตรองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวเปิดการประชุมโครงการวิจัยดังกล่าว จากนั้นเป็นการบรรยายภาพรวมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและรายละเอียดโครงการวิจัยโดย ดร.ภัสราพร พลับเจริญสุข หัวหน้าโครงการฯ การรายงานความก้าวหน้าโครงการย่อยที่ 1 “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs” และโครงการย่อยที่ 2 “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมฟอกหนังระดับ SMEs” โดย รศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) และ ผศ.ดร.กฤษณา ศิรเลิศมุกุล อาจารย์สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ
ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการย่อยที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ความร่วมมือนี้ได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มีผู้ร่วมงานจำนวน 55 คน

ในการดำเนินงานครั้งนี้ คณาจารย์และนักวิจัยจากคณะและหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาฯ ร่วมด้วยหน่วยงานภายนอก ได้ร่วมวิจัยกับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 13 แห่ง เพื่อนำร่องสร้างโรงงานต้นแบบที่บริหารจัดการทรัพยากรตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนใน 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) Circular Design ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน (2) Circular Supplies ใช้วัตถุดิบรีไซเคิลเป็นหลักในการผลิตและเน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อประหยัดทรัพยากรและลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง (3) Product as a Service ให้บริการด้วยการเช่าแทนการซื้อขาด ซึ่งช่วยรักษาสภาพสินค้าให้อยู่ในห่วงโซ่ของการให้บริการไว้ได้นานที่สุด รวมถึงลดการผลิตสินค้าใหม่เกินความจำเป็น (4) Sharing Platforms แบ่งปันการใช้ผลิตภัณฑ์ร่วมกันให้เกิดความคุ้มค่า (5) Resource Recovery นำวัตถุดิบเหลือใช้และผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำจัด กลับมาแปรรูปเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ เพื่อลดขยะปลายทางให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้โครงการดังกล่าวช่วยส่งเสริมการทำงานกับภาคเอกชนในการดึงศักยภาพนักวิจัยในมหาวิทยาลัยให้แข่งขันได้ในระดับอุตสาหกรรม ทั้งนี้จะนำผลการศึกษาจากทั้งสองโครงการไปสร้างต้นแบบธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านพลาสติกและด้านฟอกหนังให้ได้ภายในระยะเวลาหนึ่งปี โดยได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่เดือนกันยายน 2563

โครงการนี้ตอบโจทย์ภาครัฐที่ต้องการนำประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนตามนโยบายเศรษฐกิจ BCG อีกทั้งยังสร้างผู้เชี่ยวชาญและผู้ชำนาญการที่พร้อมถ่ายทอดความรู้ในปีถัดไป เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจรายอื่นสามารถพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรมทั้งต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า