รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 มีนาคม 2564
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศ.กิตติคุณ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย เฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษต้นแบบ พร้อมอุปกรณ์และเครื่องตรวจวิเคราะห์ด้านอณูชีวโมเลกุล จำนวน 1 คัน
ในโอกาสนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าฯ รับพระราชทานรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษต้นแบบ และรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพิ่มเติมจำนวน 4 คัน รวมทั้งหมด 5 คัน สำหรับใช้ประโยชน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ภาพพระราชทาน
รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ (Express Analysis Mobile Unit) เป็นรถที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกับบริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยทีมสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) และเครือข่ายพันธมิตร ภาครัฐและเอกชน ได้พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ออกไปตรวจวิเคราะห์ผลการตรวจคัดกรองโควิด-19 แบบเบ็ดเสร็จแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่อยู่นอกโรงพยาบาลหรือหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการขนส่งตัวอย่างและระยะเวลาในการรอวิเคราะห์ผล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษซึ่งเป็นรถต้นแบบจำนวน 1 คัน ออกใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร ปทุมธานี และตาก ปัจจุบันให้บริการตรวจวิเคราะห์ผลรวมกว่า 30,000 ตัวอย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ดำเนินการจัดสร้างเพิ่มเติมอีก 4 คัน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 5 คัน พระราชทานแก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเฝ้าระวังควบคุมโรคต่อไป
รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษมีพื้นที่ใช้สอย 16.8 ตารางเมตร ภายในประกอบด้วย 3 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องสกัดสารพันธุกรรม ห้องเตรียมน้ำยาวิเคราะห์ และห้องวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ สะดวกและปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และห้องบัฟเฟอร์เพื่อควบคุมและป้องกันการรั่วไหลของเชื้อโรค พร้อมกับเครื่องมือที่ติดตั้งภายในรถ ดังต่อไปนี้ ตู้ปลอดเชื้อ ตู้ปฏิบัติงานพีซีอาร์ เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติ เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส ตู้แช่แข็ง -20 องซาเซลเซียส ตู้ทำความเย็น 4 องศาเซลเซียส ช่องส่งตัวอย่าง เครื่องเขย่าผสมสาร เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน ไมโครปิเปต ระบบยูวีฆ่าเชื้อ ระบบสื่อสารสองทาง ระบบกล้องวงจรปิด และเครื่องล้างมือแอลกอฮอล์อัตโนมัติ การจัดสร้างรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วยสมรรถนะที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษของรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษนี้ จึงทำให้สามารถทราบผลการตรวจหาเชื้อได้ภายใน 3 ชั่วโมง และมีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งสามารถตรวจได้ ประมาณ 800-1,000 ตัวอย่างต่อวัน ช่วยในการค้นหาผู้ติดเชื้อได้รวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันควบคุมโรค
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2567
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิฌอง เอมีล การ์โรซ จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดภาพถ่าย “Life & Line เส้นสายลายอัตลักษณ์ชุมชนท้องถิ่น” และการแสดงเปียโนคอนแชร์โตเพลงไทย
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน
อธิการบดีจุฬาฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “Digital Branding Excellence: Leveraging Chulalongkorn University’s Vision for Global Recognition” ที่คณะวิศวฯ จุฬาฯ
พิธีเปิดงาน “Loy Krathong: Illumination the Future” กระทรวง อว. – จุฬาฯ จัดงานลอยกระทงบนสระ LED River ที่สยามสแควร์
สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ มอบเงินสนับสนุน 3 ล้านบาทให้สโมสรฟุตบอล “จามจุรียูไนเต็ด”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้