ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศ การนำเสนอผลงานการประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษา ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ครั้งที่ 13

จิรายุทธ สุวรรณสังข์ กาญลดา บรรลุพงษ์ และอรจิรา ติตติรานนท์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า (Oral Presentation) สาขาภูมิศาสตร์มนุษย์ ในการประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ระดับปริญญาตรีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13  จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เมื่อเร็วๆนี้  จากผลงานวิชาการเรื่อง “ภูมิศาสตร์แห่งอารมณ์: ถ้อยคำอารมณ์ผ่านทวิตเตอร์กับสุขภาวะของประชากรเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา พื้นที่ภาคตะวันออก” นอกจากนี้นิสิตภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศและรางวัลชมเชยการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์อีกหลายรางวัลอีกด้วย

จิรายุทธ สุวรรณสังข์ หนึ่งในทีมนิสิตภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เปิดเผยว่า ผลงานวิชาการที่นำเสนอในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา “โครงงานทางภูมิศาสตร์”  ผลงานวิชาการเรื่องนี้เป็นการนำภูมิศาสตร์มาเชื่อมโยงกับภาษาศาสตร์  มีเนื้อหาสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกของคนที่เกี่ยวกับพื้นที่ นอกจากคนจะเข้าไปเปลี่ยนพื้นที่แล้ว พื้นที่ก็ส่งผลต่อคนเช่นกัน ในขณะเดียวกัน คนต่างพื้นที่กันก็ถูกพื้นที่กำหนดความรู้สึกที่แตกต่างกัน โดยใช้สถิติต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า คดีอาชญากรรม ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัดต่อหัว อัตราความเหลื่อมล้ำ เป็นตัวชี้วัด หากสถิตดังกล่าวมีค่าสูง อารมณ์ความรู้สึกในพื้นที่นั้นจะมีค่าต่ำ

             จิรายุทธ เผยถึงความโดดเด่นของผลงานวิชาการเรื่องนี้ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า สาขาภูมิศาสตร์มนุษย์  เนื่องจากเรื่องภูมิศาสตร์อารมณ์เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับประเทศไทย เป็นผลงานวิชาการที่ผสมหลายศาสตร์ทั้งภูมิศาสตร์ ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาที่ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก นอกจากนี้ผลงานวิชาการเรื่องนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการจัดการสาธารณูปโภคเพื่อแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆ และเป็นตัวอย่างของเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาในการเข้าถึง Twitter  หาข้อมูลเพื่อเก็บสถิติ

            จิรายุทธ ได้ฝากคำแนะนำสำหรับนิสิตที่จะเข้าร่วมการแข่งขันนำเสนอผลงานวิชาการในปีต่อไปว่า จุดเริ่มต้นสำคัญที่สุด อยากให้น้อง ๆ เริ่มจากเรื่องที่ตนเองสนใจ  อยากให้คิดนอกกรอบทำในสิ่งที่แปลกใหม่ เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ทางภูมิศาสตร์ อนาคตหลังจากสำเร็จการศึกษา อยากเรียนต่อทางด้านภูมิศาสตร์มนุษย์ และอยากทำงานเป็นนักพัฒนาเมือง พัฒนาที่ดิน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า