ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ เข้าร่วมโครงการ Tech Kampus จาก KBTG พัฒนาการศึกษาพร้อมสร้างบุคลากรไอทีไทยในระดับโลก

จุฬาฯ ร่วมโครงการ Tech Kampus จาก KBTG พัฒนาคุณภาพการศึกษาและบุคลากรทางด้านไอที ในการเรียนรู้ และส่งเสริมงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับวงการธุรกิจไทย และสร้างบุคคลากรด้านไอทีสู่วงการไอทีไทยในระดับโลก พร้อมด้วยองค์กรภาครัฐ และมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอีก 7 แห่ง โดยจัดงานแถลงข่าวขึ้น เมื่อวันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 ณ อาคาร K+ Building สามย่าน

นายเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิสซิเนส–เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เปิดเผยว่า KBTG ในฐานะผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องของคนและการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยี ในการเรียนรู้ ต่อยอด และวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในโลกปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะนักศึกษาและบุคลากรด้านไอที ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีโอกาสได้เรียนรู้และการลงมือปฏิบัติงานจริง รวมถึงการได้รับแนะแนวจากผู้มีประสบการณ์ด้านวงการไอที 

โครงการ Tech Kampus ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และ 7 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของ KBTG ไปถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ร่วมมือพัฒนาหลักสูตรและยกระดับคุณภาพการศึกษาในสาขา Data Science และ Artificial Intelligence (AI) รวมทั้งต่อยอดและผลิตงานวิจัยใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยี

ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพรัจน์ ผู้อำนวยการร่วมศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (UTC) จุฬาฯ กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ว่า ศูนย์ UTC จัดตั้งมา 2 ปี มีส่วนในการผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมของจุฬาฯ มาโดยตลอด โครงการ Tech Kampus จาก KBTG เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้เข้ามาทำงานร่วมกับเอกชน ทำให้นิสิตได้เห็นการทำงานจริง เจอกับปัญหาจริง ทำให้ทำงานได้ทันเหตุการณ์และตอบโจทย์มากที่สุด การดึงคนจากภาคอุตสาหกรรมเข้ามาสามารถตอบโจทย์ 3 ข้อ คือ 1.ได้รับโจทย์จริงจากเอกชน 2.ปรับ Mindset ให้ทำงานจริงมากขึ้น 3.มีเครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงาน

นอกจากนั้น KBTG จะเปิดรับนิสิตนักศึกษาเข้ามาเรียนรู้และเข้ามาฝึกงานกับทาง KBTG วิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ และเตรียมความพร้อมสู่โลกทำงาน เพื่อนำความรู้และทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านไอทีมาใช้งานจริงได้ทันที และสามารถนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การนำ Biometrics และ Facial Recognition เพื่อระบุและยืนยันตัวตนด้วยความรวดเร็ว ไปพัฒนาทำ Online  Service และ Smart Branch ให้กับลูกค้าธนาคารกสิกรไทยและคนไทยได้ใช้ในอนาคต

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า