รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 เมษายน 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
จุฬาฯ จัดเสวนา CHULA the Impact ครั้งที่ 4 “นวัตกรรมอวัยวะเทียมระดับโลกฝีมือคนไทย” โชว์ศักยภาพโดยสองนักวิจัย จากสองสตาร์ทอัพ ภายใต้ CU Engineering Enterprise คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
วันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2564 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกลุ่มภารกิจสังคมสัมพันธ์ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ ได้จัดงานเสวนา CHULA the Impact ครั้งที่ 4 “นวัตกรรมอวัยวะเทียมระดับโลกฝีมือคนไทย” ในรูปแบบออนไลน์ ถ่ายทอดสดจากห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ผ่าน Facebook Live: Chulalongkorn University เพื่อนำเสนอนวัตกรรมอวัยวะเทียมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ ดำเนินรายการโดย อ.ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน อาจารย์พิเศษ ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ โดยมี ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงานเสวนา
วิทยากรในงานเสวนาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์, ผศ.ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ อ.นพ.ชินดนัย หงสประภาส ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประเด็นสำคัญของการเสวนา ได้แก่ ความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมอวัยวะเทียมทั้งมิติด้านการแพทย์ สังคม และโอกาสทางธุรกิจ พร้อมติดตามความคืบหน้าของนวัตกรรมอวัยวะเทียมระดับโลกที่ดำเนินงานโดยบุคคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่าย
ผศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ ผู้ร่วมพัฒนานวัตกรรมอวัยวะเทียมจากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และ Center of Excellence for Prosthetic & Orthopedic Implant ได้กล่าวถึงนวัตกรรม “เท้าเทียมไดนามิก sPace” ผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่ทางภาควิชาได้พัฒนาขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการทดลองทางคลินิก (clinical trial) ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นเท้าเทียมที่มีข้อเท้า ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติกว่าเท้าเทียมที่ผลิตจากไม้ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยได้นำเสนอตัวอย่างผลิตภัณฑ์ พร้อมกรณีศึกษาที่ได้ทดลองใช้แล้ว ซึ่งทางภาควิชา ตั้งใจจะผลิตเป็นเท้าเทียมไดนามิกแบบ premium เพื่อจำหน่ายภายใต้ start up ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (CU Engineering Enterprise) รวมถึงการผลิตเพื่อนำไปใช้ในโครงการเท้าเทียมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ทำร่วมกับ รพ.จุฬา และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ด้วย
“ประเทศไทยมีผู้พิการประมาณ 40,000 กว่าราย และ 99% ของทั้งหมดใส่เท้าเทียมที่คุณภาพไม่ค่อยจะดีนัก การนำเข้าเท้าเทียมแบบ premium ก็มีราคาแพง เข้าถึงได้ยาก ทางศูนย์ของเราซึ่งเน้นเรื่องของการออกแบบและพัฒนากายอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ จึงพัฒนาเท้ารุ่น premium คือ sPace นี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้พิการสามารถเดินและวิ่งได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยเน้นให้มีความแข็งแรง มีมุมข้อเท้าให้สามารถหมุนหรือขยับ และสะสมพลังงานได้ ซึ่งผ่านการทดลองทางการแพทย์และการทดสอบจนได้มาตรฐาน ISO 10328 จากประเทศเยอรมันแล้ว” ผศ.ดร.ไพรัช กล่าวถึงที่มาที่ไปของนวัตกรรม
ด้าน ผศ.ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Meticuly ได้นำนวัตกรรม กะโหลก ใบหน้า ขากรรไกร และกระดูกไทเทเนียม ที่ผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยี 3D Printing มานำเสนอ โดยเน้นไปที่กระบวนการการผลิตกระดูกเทียมที่มีความแข็งแรง ออกแบบด้วยความแม่นยำสูง เพื่อให้เข้ากับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของคนไข้ ช่วยยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์ของไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างทัดเทียม ทั้งนี้ ผศ.ดร.เชษฐากล่าวว่า ปัจจุบัน ได้มีการนำผลิตภัณฑ์อวัยวะเทียมจากบริษัท ไปใช้แล้วกว่า 350 ราย และได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก ปัจจุบัน Meticuly ได้มุ่งเน้นเรื่องของการพัฒนานวัตกรรม และความเป็นไปได้อื่นๆ ในการใช้เทคโนโลยี 3D Printing เพื่อการผลิตกระดูกเทียมในอนาคต
“เทรนด์ในเรื่องของการรักษาทุกวันนี้ ทุกที่ในโลกนี้จะเน้นไปการเข้าถึงได้ ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของความแม่นยำในการรักษาด้วย แนวโน้มจึงมีความเป็น Personalization treatment คือมีความเฉพาะบุคคลมากขึ้น เพราะแต่ละคนก็มีสรีระหรือความต้องการที่ต่างกัน ในเรื่องของการออกแบบและวัสดุ จึงต้องมีการศึกษาในเรื่องของความปลอดภัยมากๆ เพื่อให้มาตรฐานในระดับนานาชาติ” ผศ.ดร.เชษฐา กล่าว
อ.นพ.ชินดนัย หงสประภาส ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้กล่าวถึงปัญหาและความจำเป็นของการใช้นวัตกรรมกระดูกเทียมในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูก ซึ่งปัจจุบันทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ก็ได้มีการนำนวัตกรรมเหล่านี้มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยด้วย
“นวัตกรรมชิ้นส่วนทดแทนกระดูก มีประโยชน์อย่างมากในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูก ปกติแล้วการรักษาผู้ป่วยโรคดังกล่าวจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเป็นหลัก โดยต้องผ่าตัดกระดูกบริเวณที่เป็นมะเร็งออกไปและต้องหาวัสดุมาทดแทนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ วัสดุที่ได้รับการยอมรับกันคือการใช้ข้อโลหะเทียมชนิดพิเศษซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยใช้งานแขนหรือขาได้ทันที แต่วัสดุดังกล่าวต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาที่สูงมาก รวมถึงไม่สามารถเบิกจ่ายจากสิทธิ์การรักษาได้ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาวิธีนี้ นวัตกรรมชิ้นส่วนทดแทนกระดูกที่ทางภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น จึงเป็นทางเลือกที่ดีมาก ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงวัสดุทดแทนกระดูกที่มีคุณภาพ ในราคาที่สมเหตุผล”
อ.นพ.ชินดนัย ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีแพทย์ศัลยกรรมหลากหลายสาขาจากหลายสถาบันได้นำนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกเพียงอย่างเดียว อาทิเช่น สามารถใช้รักษาผู้ป่วยกระดูกหัก ผู้ป่วยโรคทางระบบหูคอจมูก รวมถึงผู้ป่วยศัลยกรรมตกแต่งที่ต้องใช้วัสดุทดแทนกระดูกบริเวณใบหน้าอีกด้วย โดยทางภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในผู้ป่วยจำนวนกว่า 10 ราย และได้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
3 อาจารย์จุฬาฯ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568
จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคเงินช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ ในงานกาชาด ประจำปี 2567
ศศินทร์ และ School of Management มหาวิทยาลัย Zhejiang ลงนาม MOU และเปิดตัว Regional Business Center ในกรุงเทพฯ
จุฬาฯ ต้อนรับคณะผู้บริหารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรมการศึกษา
“CU Blood : Dare to Give กล้าที่จะให้” จุฬาฯ ชวนบริจาคโลหิต ปลุกพลังแห่งการให้ ต่อชีวิตคนไทย
22 พ.ย. 67
ลาน Block I สยามสแควร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดสัมมนา “ภัยคุกคามจากสาร PFAS และการตรวจวิเคราะห์ล่าสุด”
29 พ.ย. 67 เวลา 09.00 น.
ห้อง 1106 ชั้น 11 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้