รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 เมษายน 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พบสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบใหม่ สารสกัดจากเอื้องเค้ากิ่วและดอกมณฑา เล็งต่อยอดพืชเศรษฐกิจผลิตภัณฑ์ความงามจากธรรมชาติ
ผลงานวิจัยล่าสุดจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมความงามในอนาคต ภายหลังการค้นพบสารกลุ่ม “ฟีนอลิก” ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากเอื้องเค้ากิ่วและดอกมณฑา ที่หวังนำมาต่อยอดผลิตเครื่องสำอางคุณภาพสูง
“พืชทั้งสองสายพันธุ์มีสารสำคัญกลุ่ม ฟีนอลิก ที่มีโครงสร้างค่อนข้างซับซ้อน สามารถเข้าจับกับอนุมูลอิสระทั้งในและนอกเซลล์ได้ดีมากกว่าสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ความงามในท้องตลาด เมื่อสกัดและแยกเอาสารบริสุทธิ์มาทดสอบกับเซลล์ปกติของมนุษย์ (Normal cell) แล้ว พบว่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์” ประจักษ์ ขุมพลอย นิสิตปริญญาโท หนึ่งในทีมวิจัยจากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยสรรพคุณของสารบริสุทธิ์ที่พบจากพืชสายพันธุ์พื้นเมืองของไทย
“ปัจจุบัน เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีให้เลือกมากมายในท้องตลาด แต่หากมีสารสกัดจากธรรมชาติที่ผ่านการวิจัยมาแล้วอย่างดี มีความน่าเชื่อถือ ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัย ลดอันตรายจากผลข้างเคียงในการใช้งานได้มากขึ้น” ประจักษ์ กล่าวเสริมถึงที่มาของงานวิจัย ภายใต้การนำของศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา พุดหอม
ประจักษ์อธิบายว่าสารในกลุ่มฟีนอลิกมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและบรรเทาอาการอักเสบได้ถึงระดับเซลล์ ซึ่งในเอื้องเค้ากิ่วประกอบด้วยสารสำคัญในกลุ่ม ไบเบนซิน ฟลาโวนอยด์ เทอร์พีนอยด์ ส่วนในดอกมณฑาพบสารสำคัญในกลุ่ม อัลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ ลิกแนน นีโอลิกแนน และเทอร์พีนอยด์ ยิ่งกว่านั้น สารชนิดนี้อาจมีผลยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ซึ่งจะได้มีการลองทดสอบในอนาคตต่อไป
นอกจากฟีนอลิกแล้ว ทีมวิจัยยังพบสารสกัดชนิดใหม่ในกลุ่มเซสควิเทอร์ปีนแลคโทน (Sesquiterpene Lactone – SLs) ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ มีความเป็นพิษต่อเซลล์น้อยถึงแทบไม่มีเลย ซึ่งสามารถนำมาใช้เสริมประสิทธิภาพการออกฤทธิ์กับสารตัวอื่นๆ ได้
“เรายังไม่ได้ระบุชื่อสารสกัดตัวนี้อย่างเป็นทางการ ต้องรอจนกว่างานวิจัยจะได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่ได้ตีพิมพ์เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 แต่ถ้างานวิจัยได้รับการตีพิมพ์แล้ว เราจะนำสารชุดนี้ไปตรวจสอบเพิ่มเติม โดยสารที่มีประสิทธิภาพดีจะถูกขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ครีมและส่งทดสอบการซึมผ่านผิว เป็นต้น”
ประจักษ์ และ ศ. ดร.ขนิษฐา กล่าวว่า “ในอนาคตอาจมีการต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้การดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และเป็นวัตถุดิบ (Active Ingredient) สำหรับบริษัทอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ขึ้นกับโอกาสและความน่าสนใจในการพัฒนา”
“คนไทยเราวิจัยพบสารใหม่ๆ จากสมุนไพรอยู่เรื่อยๆ เพียงแต่เราต้องไม่นำพืชมาใช้เพียงชนิดเดียวทื่อๆ แต่ต้องวิจัยทดลอง หาสารสกัดและสูตรที่เสริมฤทธิ์ระหว่างกัน” ศ. ดร.ขนิษฐา แนะ พร้อมกล่าวถึงศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยในการนำมาสกัดทางเคมี เพื่อต่อยอดสร้างมูลค่าเป็นพืชเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม
“ประเทศไทยได้เปรียบเรื่องความหลากหลายของพืชสมุนไพร เทคโนโลยีและความสามารถของคนไทยก็พร้อม เราสามารถเป็นฮับ (hub) ของพืชสมุนไพรในภูมิภาคได้เลย น่าจะขยายผลสมุนไพรให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ” ศ.ดร.ขนิษฐากล่าวส่งท้าย
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้