ข่าวสารจุฬาฯ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาฯ และเลขาธิการสภากาชาดไทยเยี่ยมชมการดำเนินงานของ“โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ”

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน 2564 ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรี ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงฯ เยี่ยมชมการดำเนินการของโรงพยาบาลสนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารจันทนยิ่งยง สนามกีฬาแห่งชาติ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ ให้การต้อนรับ

 นอกจากนี้  ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ ต้อนรับนายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร และ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  ซึ่งมาเยี่ยมชมความพร้อมของโรงพยาบาลสนามจุฬาฯ ที่เปิดให้บริการเป็นวันแรก ณ อาคารจันทนยิ่งยง

โรงพยาบาลสนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสภากาชาดไทยสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และการประชาสัมพันธ์รับสมัครอาสาสมัคร  ปัจจุบันโรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ มีเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง มีการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ให้บริการผู้ป่วยที่เป็นโรคโควิด-19 แบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ เสริมความปลอดภัยแก่ครอบครัวของผู้ป่วยและชุมชน และเพิ่มศักยภาพและจำนวนเตียงในสถานพยาบาลต่าง ๆ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ที่อาคารจันทนยิ่งยง ภายในสนามกีฬาแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2564 เป็นต้นไป เป็นสถานที่ที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วย  โควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อย ไม่มีความจำเป็นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล   ไม่สะดวกในการกักตัวที่บ้าน  เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์และชุมชน รวมทั้งช่วยลดภาระเตียงในโรงพยาบาล โดยจะเปิดรับนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ที่ติดเชื้อโควิด-19 เป็นลำดับแรก สามารถรองรับผู้ป่วยได้จำนวน 100 เตียง  โดยสำนักงานโรงพยาบาลสนาม ตั้งอยู่ที่ใต้ถุนอาคารจุฬาพัฒน์ 14 เปิด ทำการเวลา 07.00 -19.00 น.

โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ สร้างขึ้นตามมาตรฐานของโรงพยาบาลสนาม เน้นความปลอดภัยของผู้ป่วย และผู้ปฏิบัติงาน มีการสื่อสารทางไกลผ่าน Telemedicine โดยผู้ป่วยต้องอยู่ในโรงพยาบาลสนามเป็นเวลา 14 วัน ภายในโรงพยาบาลสนามมีการแยกพื้นที่ชาย-หญิง พื้นที่โซนหน้า สำหรับผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้พักรักษาตัวและส่งต่อมาจากโรงพยาบาลจุฬาฯ โซนหลัง สำหรับผู้ป่วยที่ส่งมาจากโรงพยาบาลจุฬาฯ  หลังจากรักษาตัวจนอาการดีขึ้นแล้วมีแพทย์ พยาบาล   เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีหุ่นยนต์ CU RoboCOVID สื่อสารถึงเตียงผู้ป่วย

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า