รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 เมษายน 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
LED หลอดไฟรุ่นใหม่ล่าสุด นวัตกรรมจากความร่วมมือข้ามรั้วจุฬาฯ ส่องแสงมากกว่าความสว่าง แยกความต่างระหว่างแม่สี เพิ่มคุณภาพการมองเห็น ลดการเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุ เล็งใช้งานจริงพฤษภาคมนี้
หากสมาชิกในบ้านโดยเฉพาะผู้สูงอายุมีปัญหาเดินชนประตูและเฟอร์นิเจอร์อยู่บ่อยๆ จนเกิดรอยฟกช้ำบริเวณนิ้วเท้า หัวเข่า หรือหัวไหล่ อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าสิ่งนั้นมาจากความใจลอยเดินไม่ระวัง หรือจากการวางทิ้งสิ่งของระเกะระกะ เพราะเหตุอาจมาจาก ‘แสงสว่าง’ ในบ้านที่ไม่เหมาะสมก็เป็นได้
“ผู้สูงวัยและผู้มีปัญหาการมองเห็นที่เรียกว่า “ผู้ที่มีสายตาเลือนราง” มีปัญหาการแยกแยะความสว่าง (contrast) ของพื้นผิววัตถุหรือระดับความสูงต่ำของทางเดิน ซึ่งการมองเห็นไม่ชัดเจนส่งผลต่อการเดินและการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดการสะดุดล้มและเกิดอุบัติเหตุได้” รองศาสตราจารย์ ดร.พิชญดา เกตุเมฆ ตัวแทนคณะนักวิจัยจากภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยที่มาของงานวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยเหลือการดำรงชีวิตด้านการมองเห็นสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีสายตาเลือนราง” สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
นักวิจัยจากหลายสาขาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ร่วมมือกันดำเนินงานวิจัยประกอบด้วยภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ และภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พร้อมภาคีเครือข่ายจากคณะแพทย์โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์และบริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
“จากการวิจัยพบว่า ‘คลื่นแสงสีขาว’ จากการผสมความยาวคลื่นแสงของสีทั้งสามได้แก่ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ช่วยเพิ่มขยายความต่างระดับสีของพื้นผิวต่าง ๆ ทำให้ผู้สูงอายุและผู้มีสายตาเลือนรางมองเห็นได้อย่างชัดและเคลื่อนไหวได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มแสงสีขาวที่เพิ่มความสามารถในการขยายความแตกต่างของสีบางคู่ให้เด่นชัดยิ่งขึ้นด้วย”
ข้อค้นพบดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาหลอดไฟ LED แห่งอนาคต ที่ช่วยลดข้อจำกัดการมองเห็นของกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวและพร้อมขยายผลสู่สาธารณะ
“เราผลิตหลอดไฟ LED ชนิดยาวสำเร็จแล้ว ขณะนี้กำลังขยายการผลิตไปสู่หลอดไฟชนิดอื่นที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานมากขึ้น โดยมีกำหนดทดสอบใช้งานจริงในเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ศูนย์ฟื้นฟูการมองเห็น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ และบ้านพักผู้มีสายตาเลือนราง ซึ่งในส่วนนี้มีกระบวนการด้านจริยธรรมการวิจัยเพื่อรองรับงานวิจัยว่าสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย”
นอกจากผลงานหลอดไฟอัจฉริยะแล้ว รศ.ดร.พิชญดา ยังเผยการโครงการต่อยอดซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา อาทิ แอปพลิเคชันจำลองการมองเห็นของผู้มีสายตาเลือนราง ซึ่งตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 นิยามผู้ที่มีสายตาเลือนราง (low vision) ว่าเป็นผู้มีทัศนวิสัยในการมองเห็นชัดเพียงระยะ 20 ฟุต ในขณะที่ผู้มีสายตาปกติจะเห็นได้ชัดถึงระยะ 70 ฟุต
“แอปพลิเคช้นนี้จะจำลองการมองเห็นของผู้ที่มีสายตาเลือนราง ทำให้นักออกแบบสามารถเห็นมุมมอง จุดอับ และเลือกสีที่เหมาะสมที่ทำให้วัตถุมีมิติและความแตกต่างที่สังเกตได้อย่างชัดเจน โดยแอปพลิเคชันทำงานร่วมกับกล้องมือถือเพื่อถ่ายรูปมุมมองพื้นที่ที่ต้องการออกแบบ นักออกแบบจะได้สร้างสรรค์เครื่องเรือนเครื่องใช้ภายในบ้านที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับทุกช่วงวัยของทุกคนในบ้าน” รศ. ดร.พิชญดา อธิบาย
นอกจากนี้ ยังมีการต่อยอดงานวิจัยเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม เช่น Guide Light หลอดไฟนำทางเวลากลางคืน ที่มีการผสมสีและปรับระบบการส่องสว่างใหม่ ป้องกันการรบกวนการนอนหลับของผู้สูงอายุหากต้องลุกไปเข้าห้องน้ำกลางดึก และ Color palette ชุดเทียบคู่สีและเทรชโชลของค่าความสว่าง ค่าความอิ่มตัวและค่าความต่างสี เป็นการจับคู่สีที่ทำให้เห็น Contrast อย่างชัดเจน โดยมีการบอกค่าสีและบอกเกณฑ์การเลือกคู่สี เหมาะสำหรับนักออกแบบเครื่องใช้ภายในบ้าน เพื่อเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางเลือกให้แก่ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีสายตาเลือนราง
เชิญร่วมฟังสัมมนาหัวข้อ “Key Issues in Contemporary Corporate Sustainability Practices: Climate Risk, Human Rights Risk, and ESG Disclosures”
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีต้าร์กีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
Chula-SI HUB บ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม Young Sustainability Practitioner รุ่นที่ 4
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
นิสิตศศินทร์ ผู้ประกอบการ Gen ใหม่ สร้างงานท้องถิ่นด้วยแนวคิดความยั่งยืน
ผู้บริหารจุฬาฯ เยือนมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เข้าพบเลขาธิการพรรคฯ ประจำมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และอธิการบดี ร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้