รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 เมษายน 2564
ข่าวเด่น
งานวิจัยดีเด่นจากจุฬาฯ ชี้ปัญหาผู้สูงวัยในกรุงเทพ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง เนื่องจากกินอาหารไม่ถูกหลักและออกกำลังกายไม่เหมาะสม เตรียมเปิดศูนย์ให้คำปรึกษาด้านอาหารและการออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษาผู้สูงวัยปลายปีนี้
ผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพจำนวนมากระมัดระวังการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อลดโอกาสการเกิดโรค แต่การมีไขมันสะสมในร่างกายน้อยก็ไม่ได้รับประกันสุขภาพที่ดีเสมอไป หากมองข้ามสิ่งสำคัญ คือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในร่างกาย
นี่คือข้อค้นพบสำคัญของการศึกษา “ความแตกต่างขององค์ประกอบร่างกายในผู้ที่อาศัยในชุมชนเมือง วัยกลางคน วัยสูงอายุตอนต้น วัยสูงอายุตอนกลาง และวัยสูงอายุตอนปลาย” (Differences in body composition of active urban community-dwelling middle-aged, youngest-old, middle-old, and oldest-old adults) ที่เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศงานวิจัยดีเด่นจากการประชุมวิชาการประจำปี 2564 ของสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย
“โดยทั่วไป เราเข้าใจว่าเมื่ออายุมากขึ้น ไขมันสะสมที่มากขึ้นจะก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายกับผู้สูงอายุ เราจึงมุ่งดูแลปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ฯลฯ แต่งานวิจัยนี้บอกเราว่ามวลกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุที่ลดลงต่างหาก ที่เป็นปัญหาและส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ” รองศาตราจารย์ สมนึก กุลสถิตพร หัวหน้าโคงการวิจัย และประธานกลุ่มรายวิชาโทการควบคุมน้ำหนัก ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ ชี้ข้อค้นพบสำคัญจากงานวิจัย
“กล้ามเนื้อเป็นองค์ประกอบหลักของร่างกายในการทำกิจกรรมการงานต่างๆ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อจะลดลง ความแข็งแรงของร่างกายก็ลดลงไปด้วย ส่งผลให้ผู้สูงอายุจะทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ไม่ดีเท่าเดิม หรือหกล้มง่าย ซึ่งเป็นปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในทุกวันนี้” รศ. สมนึก ขยายความ
งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลผู้สูงอายุจำนวน 600 คน ช่วงอายุตั้งแต่ 50 – 80 ปีขึ้นไป ที่เป็นตัวแทนกลุ่มประชากรสูงวัย ตามลักษณะชุมชนที่อยู่อาศัยและรายได้ ในพื้นที่ 4 เขตของกรุงเทพ ได้แก่ เขตวังทองหลาง เขตพระนคร เขตภาษีเจริญ เขตดินแดง โดยเริ่มวิจัยตั้งแต่ปี 2562 และกำลังจะสิ้นสุดเดือน พ.ค. ปี 2564 นี้
ในช่วงเวลา 3 ปี ทีมนักวิจัยลงชุมชนพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจสุขภาพกาย เพื่อตรวจดัชนีสุขภาพผู้สูงอายุ ประเมินการทำงานของรยางค์ขาในผู้สูงอายุ ประเมินองค์ประกอบร่างกาย มวลกล้ามเนื้อ และวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง โดยเปรียบเทียบองค์ประกอบร่างกายผู้สูงอายุแต่ละคน วิเคราะห์มวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน ด้วยเทคนิค BIA (Bioelectrical Impedance Analysis) ซึ่งเมื่อได้ผลตรวจสุขภาพกายแล้ว นักวิจัยจะให้คำแนะนำเรื่องอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสุขภาพของผู้สูงอายุเฉพาะราย
งานวิจัยพบว่าปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งมาจากการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและการขาดการออกกำลังกาย
“แม้จะรู้ว่าอาหารประเภทใดควรทาน อาหารประเภทใดไม่ควรทาน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็ยังรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ” ดร.แพรว จันทรศิลปิน ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในผู้ร่วมวิจัย กล่าว
รศ. สมนึก กล่าวถึงปัญหาการออกกำลังกายของผู้สูงวัยว่า “ปัญหาหลักคือไม่ออกกำลังกาย มีส่วนน้อยที่ออกกำลังกายบ้าง ทั้งออกที่ชมรมผู้สูงอายุ ที่บ้านหรือตามสวนสาธารณะ แต่ถึงแม้จะออกกำลังกายบ้าง เราพบว่าผู้สูงวัยออกกำลังกายไม่เหมาะสมกับระดับสมรรถภาพทางกายและไม่สอดคล้องกับคำแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุตามเกณฑ์มาตรฐานสากล”
รศ. สมนึก กล่าวเสริมแนวทางการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัยตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่าในแต่ละสัปดาห์ ผู้สูงอายุควรมีกิจกรรมทางกายแบบแอโรบิก (ระดับปานกลางถึงหนัก) ตั้งแต่ 75-300 นาที โดยแต่ละครั้งควรออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาทีขึ้นไป นอกจากนี้ ควรมีกิจกรรมเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นต้น
ที่ผ่านมา แม้ทีมผู้วิจัยจะได้ให้คำแนะนำและการอบรมด้านสุขภาพกับผู้สูงวัยกลุ่มเป้าหมาย แต่ยังไม่พอที่จะทำให้เกิดอุปนิสัยการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ทีมผู้วิจัยจึงคิดต่อยอดงานวิจัยสู่นวัตกรรมที่จะช่วยติดตามและแนะนำด้านโภชนาการและการออกำลังกายที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
“เราจะออกแบบเครื่องมือและระบบติดตามการออกกำลังกายสำหรับให้ผู้สูงอายุใส่ขณะออกกำลังกาย เพื่อดูลักษณะการออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงการจัดทำแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อติดตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ถ้าผู้สูงอายุทำได้ตามเป้าหมายก็จะมีการให้รางวัล เป็นแรงจูงใจให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของผู้สูงวัย” อ.ดร.แพรว กล่าว
นอกจากนั้น ปลายปีนี้ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เตรียมจะเปิดศูนย์โภชนาการและการออกกำลังกายบำบัดทางการแพทย์ (Medical Nutrition and Exercise Therapy หรือ MNET) เป็นแห่งแรกในประเทศ ณ ชั้น15 อาคารจุฬาพัฒน์ 14
“ทุกวันนี้ผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์มักจะได้รับคำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายและรับประทานอาหาร แต่ผู้ป่วยยังมองภาพไม่ออกว่าควรจะออกกำลังกายและรับประทานอาหารอย่างไรจึงจะเหมาะสม ศูนย์นี้จะเป็นที่ให้ความรู้ที่เหมาะสมกับสุขภาพแต่ละคน เนื่องจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ มีหลากหลายสาขาวิชาที่สามารถนำมาบูรณาการร่วมกันเพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยได้” รศ. สมนึก กล่าว
ในระยะแรก ศูนย์ฯ จะเน้นให้บริการกลุ่มผู้ป่วยทั่วไป ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน และผู้สูงอายุ และในอนาคต จะขยายการให้คำปรึกษาแก่บุคคลทั่วไป รวมถึงจัดโครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีแก่ทุกคนก่อนก้าวเข้าสู่ผู้สูงวัย
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นหนึ่งในโครงการย่อยของพันธกิจด้านสภาพแวดล้อมของโครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย หรือ “จุฬา อารี” (Chula Ari :Chulalongkorn University Platform for Aging Research innovation) ที่มีเป้าหมายผลิตงานวิจัยที่ใช้ได้จริงเพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อมโยงมิติต่างๆ 5 ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ ประชากรและสังคม สุขภาพ สภาพแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เน้นการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้