รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 พฤษภาคม 2564
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ข่าวเด่น
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง ข้อปฏิบัติในการสอบของนิสิตพ.ศ. ๒๕๖๔
————————
โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ข้อปฏิบัติในการสอบของนิสิต เพื่อกำหนดข้อปฏิบัติและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการสอบของนิสิตในรูปแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔ แห่งข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย การสอบของนิสิต พ.ศ. ๒๕๖๔ จึงให้มีประกาศไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ข้อปฏิบัติในการสอบของนิสิต พ.ศ. ๒๕๖๔”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“นิสิต” หมายความว่า นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“การสอบ” หมายความว่า การทำข้อสอบในห้องสอบ การนำข้อสอบไปทำนอกห้องสอบ การสอบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอย่างอื่นตามที่ผู้สอนกำหนด เพื่อวัดและประเมินผลการศึกษา
“ส่วนงาน” หมายความว่า ส่วนงานหรือหน่วยงานที่มีการจัดการเรียนการสอนนิสิต
“ผู้ควบคุมการสอบ” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากส่วนงานให้เป็นผู้ควบคุมการสอบ
ข้อ ๔ ให้นิสิตเข้าสอบตามวัน เวลา สถานที่ และตามรูปแบบหรือวิธีการที่ผู้สอน ส่วนงานหรือมหาวิทยาลัยกำหนด
ข้อ ๕ กรณีสอบในห้องสอบ ให้นิสิตแสดงบัตรประจำตัวนิสิต หรือเอกสารอื่นใดของนิสิตที่ทางราชการออกให้ซึ่งระบุเลขประจำตัวประชาชน ทั้งนี้ ให้ผู้ควบคุมการสอบตรวจสอบตัวตนของนิสิตทุกครั้งที่เข้าสอบ
นิสิตชาวต่างประเทศอาจใช้หนังสือเดินทางแสดงแก่ผู้ควบคุมการสอบตามวรรคหนึ่งก็ได้
กรณีสอบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้นิสิตแสดงตนก่อนเข้าสอบตามรูปแบบหรือวิธีการที่ผู้สอน ส่วนงานหรือมหาวิทยาลัยกำหนด
ข้อ ๖ ในการสอบในห้องสอบ ให้นิสิตปฏิบัติดังนี้
(๑) นิสิตต้องแต่งกายเข้าสอบด้วยชุดเครื่องแบบปกติหรือชุดสุภาพ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศว่าด้วยการแต่งกายของนิสิตที่ใช้บังคับอยู่ ณ ขณะนั้น
(๒) นิสิตต้องเข้าห้องสอบเมื่อมีสัญญาณเข้าห้องสอบหรือตามเวลาที่ผู้ควบคุมการสอบกำหนด
(ก) กรณีมาถึงห้องสอบสายเกินกว่าสิบห้านาทีแต่ไม่เกินสามสิบนาทีนับแต่เวลาเริ่มต้น การสอบ นิสิตจะเข้าห้องสอบได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมการสอบ โดยนิสิตไม่ได้รับการขยายเวลาสอบ
(ข) กรณีมาถึงห้องสอบสายเกินกว่าสามสิบนาทีนับแต่เวลาเริ่มต้นการสอบ นิสิตจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องสอบ นิสิตต้องรีบไปรายงานตัวต่อประธานกรรมการสอบประจำปีการศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลประกอบการมาสายเป็นลายลักษณ์อักษร
(๓) เมื่อเข้าห้องสอบเรียบร้อยแล้ว ให้นิสิตเขียนชื่อ นามสกุล และรหัสประจำตัวนิสิตลงบนสมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบให้ครบถ้วนและชัดเจนก่อนเริ่มทำการสอบ ผู้ควบคุมการสอบอาจให้นิสิตระบุข้อความอย่างอื่นเพิ่มเติมด้วยก็ได้
(๔) ระหว่างการสอบ นิสิตต้องทำข้อสอบด้วยตนเอง และห้ามมิให้รับความช่วยเหลือเพื่อให้ได้มา ซึ่งคำตอบในทุกรูปแบบจากผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้อื่นทำข้อสอบให้ ห้ามมิให้ช่วยเหลือผู้เข้าสอบอื่นด้วยวิธีการใด ๆ ห้ามมิให้ติดต่อกับผู้อื่นยกเว้นผู้ควบคุมการสอบ และห้ามมิให้กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนผู้อื่นระหว่างการสอบ
(๕) นิสิตต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ระบุไว้ในข้อสอบ และเมื่อส่งสมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบแล้ว นิสิตจะขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ ในสมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบอีกมิได้
(๖) กรณีขอสมุดคำตอบ กระดาษคำตอบ หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการสอบเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัย เกี่ยวกับการสอบ ให้นิสิตติดต่อกับผู้ควบคุมการสอบเท่านั้น
(๗) ห้ามมิให้นิสิตนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อสอบ สมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบออกจากห้องสอบ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมการสอบ
(๘) นิสิตออกจากห้องสอบได้ก็ต่อเมื่อเวลาสอบผ่านไปแล้วสี่สิบห้านาทีนับแต่เวลาเริ่มต้นการสอบ และผู้ควบคุมการสอบเก็บสมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบเรียบร้อยแล้ว
(๙) กรณีออกจากห้องสอบเป็นการชั่วคราว นิสิตต้องได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมการสอบ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ส่วนงานกำหนดหรืออยู่ในดุลพินิจของผู้ควบคุมการสอบ
(๑๐) กรณีประสงค์จะส่งสมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบก่อนหมดเวลาสอบ ให้นิสิตยกมือขึ้นและรอจนกว่าผู้ควบคุมการสอบเก็บสมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบเรียบร้อยแล้ว จึงออกจากห้องสอบได้
(๑๑) เมื่อหมดเวลาสอบ ห้ามมิให้นิสิตทำข้อสอบต่อไปอีก ให้วางสมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบไว้บนโต๊ะสอบ และรอจนกว่าผู้ควบคุมการสอบเก็บสมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบเรียบร้อยแล้ว จึงออกจากห้องสอบได้ กรณีมีสมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบที่ได้รับเพิ่มเติม ให้สอดไว้ในสมุดคำตอบเล่มแรกหรือกระดาษคำตอบชุดแรก
(๑๒) เมื่อส่งสมุดคำตอบหรือกระดาษคำตอบแก่ผู้ควบคุมการสอบแล้ว นิสิตต้องรีบออกไปจากบริเวณห้องสอบ และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการสอบ
ข้อ ๗ ในการสอบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้นิสิตปฏิบัติดังนี้
(๑) นิสิตต้องแสดงตนเพื่อเข้าสู่โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันตามวัน เวลาและช่องทางที่ผู้สอน ส่วนงานหรือมหาวิทยาลัยกำหนด
(ก) กรณีเข้าสอบสายเกินกว่าสิบห้านาทีแต่ไม่เกินสามสิบนาทีนับแต่เวลาเริ่มต้นการสอบ นิสิตจะเข้าสอบได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมการสอบ โดยนิสิตไม่ได้รับการขยายเวลาสอบ
(ข) กรณีเข้าสอบสายเกินกว่าสามสิบนาทีนับแต่เวลาเริ่มต้นการสอบ นิสิตจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบ และถือว่าขาดสอบ นิสิตต้องรีบแจ้งไปยังประธานกรรมการสอบประจำปีการศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลประกอบการเข้าสอบสายทันทีที่สามารถกระทำได้
(๒) ระหว่างการสอบ นิสิตต้องทำข้อสอบด้วยตนเอง และห้ามมิให้รับความช่วยเหลือเพื่อให้ได้มา ซึ่งคำตอบในทุกรูปแบบจากผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้อื่นทำข้อสอบให้ ห้ามมิให้ช่วยเหลือผู้เข้าสอบคนอื่นด้วยวิธีการใด ๆ ห้ามมิให้ติดต่อกับผู้อื่นยกเว้นผู้ควบคุมการสอบ และห้ามมิให้กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนผู้อื่นระหว่างการสอบ
(๓) นิสิตต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ระบุไว้ในข้อสอบ และเมื่อส่งคำตอบแล้ว นิสิตจะขอแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงคำตอบอีกมิได้
(๔) ห้ามมิให้เผยแพร่หรือส่งต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อสอบ คำตอบ หรือแนวคำตอบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมการสอบ
(๕) นิสิตจะออกจากโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่ใช้ในการสอบได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมการสอบ
(๖) กรณีออกจากการสอบเนื่องจากโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่ใช้ในการสอบ เครื่องมือ สัญญาณ หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ขัดข้องกท็กทรอนิก ให้นิสิตรีบแจ้งผู้ควบคุมการสอบทันทีที่สามารถกระทำได้
ข้อ ๘ กรณีที่นำข้อสอบไปทำนอกห้องสอบหรือสอบโดยวิธีการอย่างอื่นตามที่ผู้สอนกำหนด ให้นิสิตปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สอนโดยเคร่งครัด
ข้อ ๙ การสอบของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษานอกจากการสอบตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการสอบในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้บังคับอยู่ ณ ขณะนั้น
ข้อ ๑๐ นิสิตที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามความในข้อ ๔ หรือข้อ ๕ ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
ข้อ ๑๑ นิสิตที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามความในข้อ ๖ ข้อ ๗ หรือข้อ ๘ อาจถูกดำเนินการตามข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศมหาวิทยาลัย ประกาศส่วนงาน แนวปฏิบัติที่มหาวิทยาลัยหรือส่วนงานกำหนด หรือตามที่ผู้สอนพิจารณาเห็นสมควร ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องเหมาะสมและได้สัดส่วนกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามความในข้อนั้น ๆ
ข้อ ๑๒ ให้หัวหน้าส่วนงานดำเนินการและวินิจฉัยสั่งการให้เป็นไปตามประกาศนี้
ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าส่วนงานอาจกำหนดรายละเอียดหรือแนวปฏิบัติเพิ่มเติมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับความในประกาศนี้
ข้อ ๑๓ ให้อธิการบดีรักษาการตามประกาศนี้
ในกรณีที่ต้องมีการตีความหรือมีปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินการตามประกาศนี้ ให้อธิการบดีเป็นผู้วินิจฉัยหรือสั่งการได้ตามสมควร
ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์)
อธิการบดี
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้