ข่าวสารจุฬาฯ

ชาวจุฬาฯ จิตอาสาโรงพยาบาลสนาม ปฏิบัติงานด้วยใจ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่รุนแรงและมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก การสร้าง “โรงพยาบาลสนาม” เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการหรืออาการไม่รุนแรง มีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลต่างๆ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลรักษาผู้ป่วยจำนวนมาก

             จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง “โรงพยาบาลสนาม” จำนวน 100 เตียง ณ อาคารจันทนยิ่งยง เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 เมษายนเป็นต้นมา “โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ” ถือเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลสนามที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชาวจุฬาฯ ที่ทำหน้าที่ในส่วนต่างๆ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังด้วยความทุ่มเทและเสียสละ

            ส่วนหนึ่งของชาวจุฬาฯ ที่ทำหน้าที่จิตอาสา ณ โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ ได้เผยถึงความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติงานในครั้งนี้

          รศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามด้านกายภาพ  เปิดเผยว่า โรงพยาบาลสนามเป็นงานเร่งด่วน ซึ่งต้องทำงานแข่งกับเวลา งานทางด้านกายภาพของโรงพยาบาลสนามต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการทั้งในระหว่างการใช้งานและภายหลังการใช้งานแล้ว ในการออกแบบต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่าง ความสะอาด การป้องกันโรค และความปลอดภัยของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

            “ผมคนเดียวไม่สามารถทำอะไรได้ ต้องให้เครดิตทีมงานจากจุฬาฯ ที่ให้ใจในการทำงานมาก ในการทำงานที่เร่ง ต้องอยู่จนดึกดื่น เสียสละทำให้งานทุกอย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมสำนักบริหารระบบกายภาพที่ต้องประสานงานกับทีมแพทย์ รปภ. และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อถึงเวลาที่ต้องการความช่วยเหลือ ชาวจุฬาฯ ก็พร้อมช่วยกันทำให้งานสำเร็จ” 

            ศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง รองคณบดี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เภสัชกรอาสาสมัคร โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ ทำหน้าที่หน่วยจ่ายยา และร่วมทำบัญชียา โดยทำงานร่วมกับผู้จัดการโอสถศาลา และเภสัชกร นอกจากนี้ยังประสานงานกับสำนักบริหารกิจการนิสิต เพื่อดูแลนิสิต

            “โรงพยาบาลสนามจุฬาฯ เกิดจากการรวมพลังชาวจุฬาฯ ถูกสร้างขึ้นมาอย่างดีที่สุดในช่วงเวลาที่จำกัด รู้สึกภูมิใจที่มีส่วนร่วมขับเคลื่อนโรงพยาบาลสนามในครั้งนี้ เชื่อมั่นว่ามาตรการต่างๆ ที่เข้มข้นจะสามารถทำให้เราฝ่าวิกฤตนี้ไปได้”

            พญ.ธนินี ประสพโภคากร แพทย์อาสาสมัคร โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำผู้ป่วยใหม่ ดูแลผู้ป่วยเก่า ติดตามอาการ ประสานงานกับพยาบาลและเจ้าหน้าที่ โดยปฏิบัติงานสัปดาห์ละสามวัน ตั้งแต่ 7 โมงเช้า – 1 ทุ่ม            

            คุณหมอธนินีเล่าว่าผู้ที่พักอยู่ในโรงพยาบาลสนามเป็นผู้ไม่แสดงอาการที่เป็นปัจจัยเสี่ยง คนไข้สามารถโทรศัพท์สื่อสารกับครอบครัวหรือเพื่อนๆ ได้ตามปกติ มีการสอนให้วัดสัญญาณชีพตนเองและวัดความดันวันละสองครั้ง แพทย์จะติดต่อกับคนไข้ผ่านวีดิโอคอล มีหุ่นยนต์ช่วยเหลือคนไข้ถึงที่เตียง “เป็นงานใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน ยินดีมากที่ได้มีบทบาทช่วยเหลือในครั้งนี้ ทีมแพทย์และบุคลากรเป็นผู้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย มั่นใจในโรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ ให้คะแนนเต็ม 10 การระดมความช่วยเหลือโดยทีมสนับสนุน”

             ศุภกัญญา บินทปัญญา พยาบาลวิชาชีพอาสาสมัคร โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ  ทำหน้าที่ช่วยจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ วางแผนรับและส่งผู้ป่วยออก ประสานงานเรื่องระบบการแพทย์และพยาบาล   

            “โรงพยาบาลสนามถือเป็นงานใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการติดต่อและติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ส่วนตัวได้นำประสบการณ์การทำงานจากสถานการณ์โควิดกว่า 1 ปีที่ผ่านมามาปรับใช้อย่างเต็มที่ ดีใจที่ผู้บริหารไว้วางใจให้มาทำหน้าที่นี้ ขอให้ชาวจุฬาฯ อย่าการ์ดตก ทุกคนต้องป้องกันตนเอง อีกไม่นานสถานการณ์น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ”

             จีรเดช ราชวังเมือง หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริการอาคารสถานที่ สำนักบริหารระบบกายภาพ อาสาสมัครโรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ ทำหน้าที่ผู้ประสานงานทางด้านกายภาพทั้งที่โรงพยาบาลสนามและสำนักงานโรงพยาบาลสนาม รวมทั้งดูแลเรื่องการจัดซื้อพัสดุ

            “ภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้ ยินดีที่ได้ทำประโยชน์ให้จุฬาฯแม้จะเป็นเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้น เชื่อมั่นในพลังของชาวจุฬาฯทุกคนที่เป็นครอบครัวเดียวกัน สามารถช่วยเหลือแบ่งปันกัน นอกจากจะเป็นจิตอาสาทำงานที่โรงพยาบาลสนามแล้ว ยังช่วยงานโครงการ CU V Care  ที่หอพักจุฬานิเวศน์อีกด้วย”

สมนึก บุพลับ หัวหน้า รปภ.จุฬาฯ  ดูแลการจราจรในพื้นที่ โรงพยาบาลสนาม เผยว่า “ภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่จิตอาสาเพื่อจุฬาฯ ของเรา ทำงานนี้ด้วยใจรัก อยากให้ทุกคนดูแลตัวเองให้ดีๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19”

            สามารถ หินผา เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย อีกหนึ่งจิตอาสารับผิดชอบเรื่องการจราจร รวมถึงการส่งอาหารให้ผู้ป่วยและทีมแพทย์ กล่าวว่า “ทำหน้าที่จิตอาสาด้วยความเต็มใจ หวังเพียงให้บุคลากรและนิสิตปลอดภัย หายจากอาการป่วย และกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ ขอให้ชาวจุฬาฯ ร่วมใจรักษามาตรการการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา รักษาสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง”

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า