รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 พฤษภาคม 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดรักษามะเร็งเต้านมสำเร็จแห่งแรกของโลก เผยผลเซลล์มะเร็งคนไข้รายแรกเป็นศูนย์ อาการข้างเคียงน้อย คุณภาพชีวิตเพิ่ม
หลังจากรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการต่างๆ แล้ว มะเร็งยังกลับมาเป็นซ้ำและลุกลามไปยังตับ ปอด และกระดูก เพลินพิศ โกแวร์ ตัดสินใจยุติการรักษาเพื่อใช้ชีวิตที่เหลือกับลูกสาว จนกระทั่ง รศ.นพ.กฤษณ์ จาฏามระ หัวหน้าศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แนะนำการรักษาด้วย “ภูมิคุ้มกันบำบัด” เธอก็กลับมีความหวังขึ้นอีกครั้ง
“อาการต่างๆ ดีขึ้น หลังจากฉีดเซลล์ภูมิคุ้มกันไปแล้ว 6 เดือน จากที่ต้องนั่งรถเข็น เดินไม่สะดวก เพราะกระดูกทรุดตัว ตอนนี้ เดินขึ้น-ลงบันไดได้โดยไม่เหนื่อย อาการปวดกระดูกหายไป ไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด ผลการเจาะตรวจชิ้นเนื้อจากตับที่มีเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย ก็ไม่พบเซลล์มะเร็งเหลืออยู่” เพลินพิศ กล่าวด้วยรอยยิ้ม และเสริมว่า อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษามีเพียงตุ่มน้ำใส และปวดตามข้อเล็กน้อยเท่านั้น
ทุกวันนี้ เพลินพิศ ใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพียงต้องระวังการเคลื่อนไหวบริเวณหลังและคอ เนื่องจากกระดูกทรุด อันเป็นผลจากมะเร็งที่เป็นมาหลายปีก่อนหน้านี้
มะเร็งเต้านม ภัยอันดับหนึ่งของหญิงทั่วโลกและไทย
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก และผู้หญิงไทยก็เป็นมะเร็งชนิดนี้มากที่สุดด้วย การรักษามะเร็งเต้านมตามมาตรฐานโลกมีหลายวิธี อาทิ การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด การฉายรังสี การใช้ยาต้านฮอร์โมน การรักษาด้วยยาพุ่งเป้า และการผ่าตัดเต้านม แต่สำหรับผู้ป่วยบางราย แม้จะรักษาด้วยวิธีการเหล่านั้นแล้ว มะเร็งก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) จึงนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือก
“ระบบภูมิคุ้มกันเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษามะเร็ง ในต่างประเทศมีการคิดค้นเรื่องนี้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ยังไม่มีการนำมาปรับใช้กับการรักษามะเร็งเต้านมและยังไม่มีการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับคนไข้แต่ละราย” รศ.นพ.กฤษณ์ กล่าว
“ทางศูนย์ฯ ศึกษาเรื่องนี้มานาน มีการเตรียมความพร้อม ทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ และทีมบุคลากรทางการแพทย์ จนค้นพบวิธีการและแนวทางการรักษามะเร็งเต้านมด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดที่คาดว่าจะสามารถช่วยคนไข้ได้”
ภูมิคุ้มกันบำบัดรักษามะเร็งเต้านมอย่างไร
รศ.นพ.กฤษณ์ อธิบายว่าภูมิคุ้มกันบำบัดเป็นการใช้เซลล์ภูมิคุ้มกันพื้นฐานที่มีมากที่สุดในร่างกาย กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน (T-cell) แล้วให้ไปกำจัดเซลล์มะเร็ง
“ระบบภูมิคุ้มกันเป็นระบบที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันจะทำงาน แต่เมื่อเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น ภูมิคุ้มกันไม่ทำลายเซลล์มะเร็งเพราะคิดว่าเป็นเซลล์กลุ่มเดียวกัน เราจึงศึกษาคุณสมบัติพิเศษของเซลล์มะเร็งที่ต่างจากเซลล์ธรรมดา ก็พบว่าผิวของเซลล์มะเร็งมีโปรตีนจำเพาะ ซึ่งคนไข้แต่ละคนมีโปรตีนจำเพาะนี้แตกต่างกันไป”
รศ.นพ.กฤษณ์ อธิบายขั้นตอนการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดว่า
“เรานำเซลล์ภูมิคุ้มกันที่อ่อนที่สุดของร่างกายคนไข้มะเร็งเต้านมมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการให้เจริญเติบโตคู่กับโปรตีนจำเพาะ (Peptide) ของมะเร็งเต้านมแต่ละคน ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เซลล์ภูมิคุ้มกันจะเรียนรู้และจดจำโปรตีนจำเพาะของเซลล์มะเร็งได้ จากนั้น เราก็จะฉีดเซลล์ภูมิคุ้มกัน (ที่เรียนรู้แล้ว) เข้าไปที่ต่อมน้ำเหลืองของคนไข้ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันขยายตัวไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เซลล์ภูมิคุ้มกันก็จะช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง”
ภูมิคุ้มกันบำบัดกับอนาคตการรักษามะเร็ง
หลังจากรักษาคนไข้รายแรกสำเร็จ ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อมะเร็งเต้านม ได้นำระบบภูมิคุ้มกันบำบัดมาช่วยรักษาคนไข้มะเร็งเต้านมรายอื่นๆ โดยคาดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาลง 1 ใน 3 จากค่าใช้จ่ายของคนไข้รายแรก ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดด้วย
“ในฐานะผู้ที่รักษามะเร็งเต้านมมามากว่า 50 ปี ณ เวลานี้เทียบกับเมื่อก่อนต่างกันมาก การรักษามะเร็ง ถ้าเจอในระยะต้นๆ รักษาอย่างถูกวิธี และมีระบบภูมิคุ้มกันบำบัดเข้ามาช่วย โอกาสที่จะรักษาหายมีสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์”
“สำหรับผู้ที่รักษาหายแล้ว มะเร็งจะกลับมาอีกหรือไม่ ยังไม่มีใครตอบได้ ผมตอบได้แต่ว่าระบบภูมิคุ้มกันนี้จะยังอยู่ในร่างกายของเราตลอดไป ถ้ามีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นมาใหม่ ผมคาดว่าระบบภูมิคุ้มกันจะมีเพียงพอที่จะไปจัดการกับเซลล์มะเร็งได้”
ที่สำคัญ รศ.นพ.กฤษณ์ กล่าวว่า ระบบภูมิคุ้มกันสามารถไปได้ทุกจุดในร่างกาย รวมถึงสมอง ซึ่งการรักษาด้วยเคมีบำบัดทำไม่ได้
“อย่าหมดหวัง ผมอยากให้คนป่วยทุกคนมีความหวัง” รศ.นพ.กฤษณ์ ฝากทิ้งท้าย
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้