รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 พฤษภาคม 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยเยอรมัน ค้นพบเขียดชนิดใหม่ของโลกในประเทศเมียนมาร์ ชี้ระบบนิเวศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังหลากหลาย เตือนการใช้สารเคมีในการเกษตรทำระบบสืบพันธุ์เขียดเปลี่ยน เสี่ยงสูญพันธุ์
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อย่างกบ เขียด และปาด เป็นสัญญาณความสมบูรณ์และสมดุลของระบบนิเวศ แต่ที่ผ่านมา ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทำให้สัตว์ประเภทนี้โดยเฉพาะ เขียด” มีจำนวนลดลงอย่างมากจนถูกขึ้นบัญชีเป็น “สัตว์ใกล้สูญพันธุ์” จึงเป็นเรื่องน่ายินดีที่ล่าสุด คณะวิจัยจากจุฬาฯ และเยอรมนี ได้ค้นพบเขียดชนิดใหม่ของโลกในประเทศเมียนมาร์
“เขียดชนิดใหม่นี้มีเสียงร้องที่ใหญ่ ไม่แหลมเหมือนเขียดทั่วไป ขนาดตัวเล็ก ผิวหนังค่อนข้างลื่นกว่าเขียดชนิดอื่น เท้ามีพังผืดเต็มเท้าเนื่องจากอาศัยอยู่ริมน้ำ ในไทยก็มีเขียดลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ด้วยแต่คนละสายพันธุ์” อาจารย์ ดร.ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายลักษณะของเขียดชนิดใหม่ที่ค้นพบ ซึ่งได้เผยแพร่ในวารสารวิชาการนานาชาติ Vertebrate Zoology
ตั้งแต่ปี 2560 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์วิจัย Senckenberg ประเทศเยอรมนี ออกสำรวจพื้นที่ป่าเขตร้อนในประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพื่อศึกษาและประเมินความหลากหลายของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“กว่าสามปีที่เราเก็บรวบรวมตัวอย่างสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานในหลายประเทศ เขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็พบเขียดชนิดนี้ในป่าประเทศเมียนมาร์ ซึ่งยังจำแนกในอนุกรมวิธานไม่ชัด ภายหลังนำกลับมาวิเคราะห์ในห้องทดลองแล้ว เราจึงพบว่านี่คือ “เขียดชนิดใหม่ของโลก” ดร.ภาณุพงศ์ นักอนุกรมวิธานและนักนิเวศวิทยา กล่าว
กระบวนการวิเคราะห์ในห้องทดลอง คณะนักวิจัยร่วมจะเปรียบเทียบความต่างทางสัณฐานวิทยา วิเคราะห์ความแปรผันของเสียงร้อง ศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ รวมทั้งจีโนม (Genome) ข้อมูลทางพันธุกรรม จนกระทั่งกำหนดชื่อสกุลของเขียดได้ โดยเปลี่ยนจากสกุล Occidozyga เป็น Phrynoglossus และได้รับการประกาศชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phrynoglossus myanhessei เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
“คำว่า myan มาจาก Myanmar ส่วน hessei มาจากชื่อรัฐ Hesse ในเยอรมนี ที่สนับสนุนงบและอำนวยความสะดวกตลอดระยะเวลาการวิจัยในเมียนมาร์” อ.ดร.ภาณุพงศ์ เล่าที่มาของชื่อ
สุดท้าย นักนิเวศวิทยาย้ำความสำคัญของการรักษาระบบนิเวศและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกว่า “สัตว์ประเภทนี้มักอาศัยในเขตภูมิอากาศที่มีความชื้นสูงเนื่องจากผิวหนังต้องการความชุ่มชื้นตลอดเวลา ในห่วงโซ่อาหาร พวกมันเป็นทั้งผู้ล่าและผู้ถูกล่า กินแมลงแต่ก็ถูกนกและงูกินเป็นอาหารด้วย เป็นกลไกสำคัญในธรรมชาติที่คอยรักษาสมดุลในระบบนิเวศ แต่ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในอุตสาหกรรมเกษตรส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรเขียดในธรรมชาติจนถึงขั้นวิกฤต สารเคมีที่เจือปนในแหล่งน้ำและอาหารได้ทำลายอวัยวะและระบบสืบพันธุ์ของพวกมัน นานวันเข้า จำนวนพวกมันลดลงสมดุลธรรมชาติจึงเปลี่ยนไป”
ปัจจุบัน อ.ดร.ภาณุพงศ์ กำลังศึกษาเรื่อง “งูปี่แก้ว” เป็นงูที่ไม่มีพิษ ชอบกินไข่งูที่มีพิษ ซึ่งเป็นการควบคุมจำนวนงูมีพิษ งานวิจัยอีกเรื่องเกี่ยวข้องกับ Molecular DNA เป็นการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพโดยใช้เทคนิคทางโมเลกุล โดยลงพื้นที่ไปทำวิจัยที่จังหวัดน่านซึ่งมีสถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีของจุฬาฯ ที่นั่น
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้