ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตจุฬาฯ ได้รับรางวัล “นริศรานุวัดติวงศ์ ประจำปี 2564” นิสิตผู้มีความรู้ความสามารถด้านศิลปะไทย

4 นิสิตจุฬาฯ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ ผู้มีความสามารถทางด้านศิลปะไทยได้รับคัดเลือกจากมูลนิธินริศรานุวัดติวงศ์ ให้ได้รับรางวัลนริศรานุวัดติวงศ์ ประจำปี 2564 ซึ่งมอบให้นิสิตนักศึกษาผู้มีผลงานและความสามารถทางด้านศิลปะไทยในแขนงต่างๆ เช่น ดนตรี นาฏศิลป์ จิตรกรรม ฯลฯ  เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  และเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์งานศิลปะในประเทศไทย

คเชนทร์ ฉบับตรง นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  ได้รับรางวัลผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านนาฏศิลป์  ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ เปิดเผยว่า  มหาวิทยาลัยได้จัดสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกนิสิตเป็นตัวแทนรับรางวัลในครั้งนี้ โดยมีการสอบทั้งในภาคทฤษฎีซึ่งเป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และการสอบภาคปฏิบัติ โดยให้นิสิตเลือกเพลงที่ถนัดมา 1 เพลง เพื่อแสดงความสามารถ และคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดให้เป็นผู้ได้รับรางวัลนี้ ตนเลือกการรำไทยซึ่งเป็นการแสดงที่ถนัดมากที่สุด อยากให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาร่วมอนุรักษ์ สืบสาน นาฏศิลป์ไทย ซึ่งเป็นศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบไป

ศุภพิพัฒน์ โพธิ์สุวรรณ นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ เปิดเผยว่า ตนชื่นชอบดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็ก โดยเริ่มเล่นดนตรีไทยตั้งแต่ชั้นอนุบาล ทุกครั้งที่เล่นดนตรีไทยทำให้รู้สึกสบายใจ ภูมิใจมากที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ สำหรับบทเพลงที่ใช้ในการคัดเลือกคือเพลงพญาโศก บรรเลงโดยซอด้วงซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ถนัดมากที่สุด ขอฝากถึงผู้ที่สนใจด้านดนตรีไทยว่าต้องมีใจรักในการเล่นดนตรีไทย ซึ่งจะทำให้มีความสุขและสนุกกับการเล่นดนตรี

ศุภกร ธนบุญเลิศลักษณ์

ศุภกร ธนบุญเลิศลักษณ์ นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นนิสิตที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านศิลปะไทยแบบประเพณี กล่าวว่าผลงานที่ส่งให้มูลนิธินริศรานุวัดติวงศ์พิจารณาคัดเลือกเป็นการออกแบบทางสถาปัตยกรรมไทย ประกอบด้วย การออกแบบวัด อาคารเทวาลัย และสถาปัตยกรรมด้านการท่องเที่ยวที่มีความร่วมสมัย ความโดดเด่นของผลงานที่ทำให้ได้รับรางวัล คือการออกแบบอาคารอเนกประสงค์ที่พุทธมณฑล เป็นสักการสถานคล้ายศาลาการเปรียญในวัดแต่มีความร่วมสมัย ซึ่งเป็นโปรเจ็คที่ตนชื่นชอบเพราะได้แสดงศักยภาพของการเขียนลายไทยหนึ่งในเอกลักษณ์ของไทย

ภูริทัต หงส์วิวัฒน์

ภูริทัต หงส์วิวัฒน์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับคัดเลือกให้เป็นนิสิตที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาไทย กล่าวว่ารางวัลนี้มอบให้ผู้ที่เรียนด้านวรรณคดีไทย และทำคะแนนด้านวรรณคดีไทยได้มากที่สุด ตนได้เกรด A ในทุกรายวิชาทางวรรณคดี จึงได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลในครั้งนี้ จุดเริ่มต้นที่ทำให้ชอบวรรณคดีและวรรณกรรมไทยมาจากคุณแม่ที่อ่านกลอนให้ฟังตั้งแต่เด็กๆ จากนั้นก็ได้ศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองมาโดยตลอด ในระหว่างเรียนก็ได้ส่งบทกลอนเข้าประกวดมาโดยตลอด โดยได้รับรางวัลของชมรมวรรณศิลป์ จุฬาฯ และเคยเป็นตัวแทนอ่านบทกวีในงานต่างๆ

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า