รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 มิถุนายน 2564
ภาพข่าว
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้จัดการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3/2564 โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุม ศ.วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 อาคารคณะกรรมการการอุมศึกษา 1 และผ่าน Zoom Meeting
ในการนี้ ได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการในโครงการ อว. ชวนอุดมศึกษา รัก (ษ์) สิ่งแวดล้อม โดยมี ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. และ โฆษกกระทรวง อว. นายพิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร ผู้ก่อตั้งบริษัท คิดคิด จำกัด (โครงการอว.ชวนอุดมศึกษารัก(ษ์) สิ่งแวดล้อม) และประธาน 4 เครือข่าย ทปอ. ได้แก่ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ผศ.จรูญ ถาวรจักร์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด ประธานที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง อธิการบดีวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ผู้แทนนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามความร่วมมือครั้งนี้ โดยมุ่งเน้นการทำกิจกรรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ด้วยเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า ECOLIFE App ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่มีจุดมุ่งหมายในการรณรงค์ให้เกิดการปฏิเสธพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง การคืนขยะ รวมถึงการทำกิจกรรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการที่ง่าย สนุก ได้สิทธิประโยชน์ และสามารถวัดผลการมีส่วนร่วมได้ ผ่านการเก็บข้อมูลของแอปพลิเคชัน โดยผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดฟรีได้ทั้งระบบ iOS, Android และ Huawei
บริษัท คิดคิด จำกัด จัดทำโครงการรณรงค์ผ่าน ECOLIFE App กับมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2562 โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกว่า 35 มหาวิทยาลัย มีผู้ใช้งานกว่า 60,000 คน มีการทำกิจกรรมไปกว่า 1.9 ล้านครั้ง และเทียบเท่าการลดการปล่อยคาร์บอนกว่า 120,000 kg.CO2e ในปี 2564 ทางบริษัท คิดคิด จำกัด จึงได้นำโครงการรณรงค์กลับมาอีกครั้งโดยทางบริษัทได้นำเสนอให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ 4 เครือข่ายที่ประชุมอธิการบดี สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้เป็นเจ้าภาพสร้างโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับนิสิต นักศึกษา บุคลากร อาจารย์ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมในปีนี้
นอกจากนี้ได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย กับบริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้กับทุกมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ภายใต้โครงการ Education Transformation for Higher Education เปิดให้อาจารย์ใช้หลักสูตรของไมโครซอฟท์ผนวกเข้ากับแผนการสอนเพื่อยกระดับ องค์ความรู้สู่ยุคใหม่
บุคลากรทางการศึกษา ครูอาจารย์สามารถนำหลักสูตรการสอนที่มีมากกว่า 1000+ หลักสูตร ไปผนวกกับแผนการสอนที่มีได้อาจารย์สามารถเข้ามาเรียนรู้ทักษะต่างๆ พร้อมเปิดโอกาสให้สอบเพื่อรับประกาศนียบัตรรับรองความสามารถด้านเทคโนโลยีนิสิต นักศึกษาทั่วประเทศในสังกัดมหาวิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษา สามารถเข้าสอบเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรรับรองจากไมโครซอฟท์ผ่านหน่วยงานในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งยังได้รับ ไมโครซอฟท์ คลาวด์ เครดิตเพื่อนำไปพัฒนาโครงงานด้านต่างๆ ในเบื้องต้นได้
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ Sensory Play เสริมประสบการณ์รับรู้สัมผัส สำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี
5 พ.ย. 67 เวลา 10.00 - 12.00 น.
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญร่วมฟังสัมมนาหัวข้อ “Key Issues in Contemporary Corporate Sustainability Practices: Climate Risk, Human Rights Risk, and ESG Disclosures”
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิเศษ โชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
Chula-SI HUB บ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม Young Sustainability Practitioner รุ่นที่ 4
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้