รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 กรกฎาคม 2564
ข่าวเด่น
รศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน กรรมการบริหารศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้ความรู้ในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปิดไฟนอนตอนกลางคืนว่า เป็นการขัดขวางการหลั่งของสารเมลาโทนินซึ่งหลั่งจากส่วนหนึ่งในสมอง มีความสำคัญต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้นผู้ที่เปิดไฟนอนหรือมีการพักผ่อนที่ไม่ดีอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคอ้วน
“เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในช่วง 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน มีหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ และระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบเมตาบอลิซึม ระบบประสาทอัตโนมัติ ความดัน ความจำ เมลาโทนินจะถูกยับยั้งโดยแสง ดังนั้นมีโอกาสที่การนอนเปิดไฟจะส่งผลให้เมลาโทนินถูกกด ส่งผลให้นอนไม่ดี และอาจทำให้เกิดโรคต่างๆได้” รศ.พญ.นฤชา กล่าว
การพักผ่อนที่ดีนั้นช่วยเรื่องความจำและการเรียนรู้ ดังนั้นหากเมลาโทนินถูกขัดขวางการหลั่ง อาจส่งผลต่อระบบความจำ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะแรกส่วนหนึ่งพบว่ามีการลดลงของสารเมลาโทนิน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Internal Medicine ที่ศึกษาในผู้หญิงกว่า 4 หมื่นคน เรื่องการเปิดและปิดไฟนอนที่อาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว หลังจากการติดตามในระยะ 5 ปี พบว่าคนที่เปิดไฟนอนมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าคนที่ปิดไฟนอน โดยน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 5 กิโลกรัม ดังนั้นความสว่างจากการเปิดไฟนอนจึงมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว
รศ.พญ.นฤชา ให้คำแนะนำว่า ควรปิดไฟให้สนิทก่อนนอน หลีกเลี่ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีแสง เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ ก่อนนอน 1 ชั่วโมง เพราะเป็นการกระตุ้นการตื่นตัวและเป็นการรบกวนการหลั่งสารเมลาโทนิน ถ้าหากมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดไฟนอน ควรเปิดเป็น Night Light หรือไฟหรี่ นอกจากนี้ควรจะเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกับทุกวัน หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ภายใน 3 ชั่วโมงก่อนนอน
หากมีความผิดปกติสามารถมาติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือที่ https://www.sleepcenterchula.org/index.php/th/
จุฬาฯ เจ้าภาพการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568
จุฬาฯ จัดงานเลี้ยงรับรองผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการประชุมสามัญ ทปอ. ครั้งที่ 1/2568
อบรมเชิงปฏิบัติการ “S.M.A.R.T Communication: พัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างผลลัพธ์และบรรยากาศที่ดี”
ขอเชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาคณาจารย์ จุฬาฯ พ.ศ. 2568
3-10 มี.ค. 2568
ขอเชิญร่วมงาน “วันอ้วนโลก“ World Obesity Day 2025 “อ้วนแล้วเปลี่ยน… เริ่มวันนี้ เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” 1 มีนาคม 2568 ณ ชั้น 9 อาคาร SiamScape
1 มีนาคม 2568 เวลา 09.30-15.00 น. ชั้น 9 อาคาร SiamScape
จุฬาฯ ร่วมเปิดงาน “เทศกาลบางแสนเพลิน” กิจกรรมสร้างสรรค์จากงานวิจัยสู่ชุมชน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้