ข่าวสารจุฬาฯ

นักเรียนสาธิตจุฬาฯ คว้า 9 รางวัลประกวดนวัตกรรมที่โปแลนด์ ศูนย์นวัตกรรมสาธิตจุฬาฯ สานฝันสู่ความสำเร็จ

นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ สร้างสรรค์นวัตกรรมสุดล้ำ คว้า 6 เหรียญทอง 3 เหรียญเงินจากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ “E-NNOVATE 2021 International Innovation Show” ณ สาธารณรัฐโปแลนด์ ซึ่งจัดในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 22 – 24 มิถุนายน 2564

            นวัตกรคนเก่งจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ที่คว้า 6 เหรียญทอง (Gold Award) ประกอบด้วย

            – ด.ช.รณภัทร ศรีวรวิไล ด.ช.ธรรมธัช พัวพงษ์พันธ์ ด.ช.บุญยกร สัมฤทธิวนิชชา จากผลงาน “ปากกาต่อต้านโรคระบาด” (Anti Pandemic Pen)

            – ด.ช.ภูริชา หนองหารพิทักษ์ ด.ช.ญาณวัฒน์ กฤษดาธานนท์ ด.ช.กวีวัธน์ ศานติวรพงษ์ ด.ญ.ปราณรัก บ่ายคล้อย ด.ญ.ภารวี หนองหารพิทักษ์ จากผลงาน “ระบบห้องน้ำอัจฉริยะระเบิดความสนุกสำหรับชีวิตวิถีใหม่(FunPlosion Smart Bathroom in the New Normal)

– น.ส.จ้าวไหม ตั้งศิริพัฒน์ ด.ญ.ธันยนันท์ พูนบันดาลสิน ด.ช.มัชฌิมา สุวิชชโสภณ  ด.ช.กร เหมรัญช์โรจน์ จากผลงาน “ชุดหมอนลดการนอนกรนเพื่อปรับสมดุลให้การนอนหลับมีคุณภาพและปลอดภัยที่สุด” (Less Snore More Sleep)

            – ด.ช.กร เหมรัญช์โรจน์ ด.ช.ธีรภาส อภินันท์กูล ด.ช.สุธีพันธุ์ โขวิฑูรกิจ จากผลงาน “โปรแกรมฝึกคลื่นสมองด้วยเทคนิคสะท้อนกลับ ป้องกันสมองเสื่อมและลดปัญหาความรุนแรงจากสมาธิสั้น(@TRaIN :Trans Brain computer Interface Neurofeedback Training)

            – ด.ช.ธิปก ตั้งศิริพัฒน์ ด.ญ.จิรัชญา เหมรัญช์โรจน์ ด.ช.ศิรณัฏฐ์ โตวิกกัย ด.ช.ณัฐธรรม โอสรประสพ ด.ญ.ณัฏฐาศิริ โตวิกกัย คว้า 2 เหรียญทองจากผลงาน “คิดส์เพลิน” (Kid Plearn : Kid Play and Learn)และ“ชุดอุปกรณ์ช่วยออกกำลังกายในผู้ป่วยติดเตียง”(Muvtivate : Muscle and Movement Stimulation Versatility Tool – for elderly)

นอกจากนี้ยังคว้าเหรียญเงิน (Silver Award) จากผลงาน “ชุดฝึกสมองและกระตุ้นพัฒนากล้ามเนื้อมือสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและเด็กออทิสติก” (Boost Brain Up)

            ส่วนอีก 2 เหรียญเงินเป็นของ ด.ญ.ปัณฑารีย์ เลิศฤทธิ์จรัสกิจ ด.ญ.ปิยสรณี วินะยานุวัติคุณ ด.ญ.ปริญ อุดมเกียรติกูล ด.ญ.ชญาภา ศรีวรวิไล ด.ญ.พิชา บัณฑิตชุติกุล จากผลงาน “ไอจีแมสก์สำหรับพูด” (IG Talking Mask) และ ด.ญ.ธันยนันท์ พูนบันดาลสิน ด.ญ.ณิชาภัทร โกมลบุตร ด.ช.ปัณณทัต จิตรภักดี ด.ญ.นภาพร ลี่ดำรงวัฒนากุล ด.ช.จีราวัฒน์ พูนบันดานสิน จากผลงาน“อุปกรณ์จัดท่าทางการนั่งและการยืน เพื่อลดปัญหาออฟฟิศซินโดรม” (Up Lift Shift Life)

            ความสำเร็จอันยอดเยี่ยมของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ เกิดจากศูนย์นวัตกรรมโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีความสนใจในงานนวัตกรรมมีโอกาสและพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ภายใต้การดูแลให้คำปรึกษาโดยอาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ ประธานศูนย์นวัตกรรม โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม

            “เราเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความฝัน อยากทำสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกตำราเรียน เด็กในวัยประถมจะมีความคิดสร้างสรรค์สูงมาก สิ่งที่เราทำคือให้คำปรึกษาว่าจะสามารถนำความคิดสร้างสรรค์ของเขาออกมาเป็นรูปธรรมได้ในรูปแบบใดบ้าง” อ.จีระศักดิ์ เผยถึงจุดเริ่มต้นในการสร้างนวัตกรจากรั้วสาธิตจุฬาฯ

            การไม่ปิดกั้นความคิดของเด็กนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมประสบความสำเร็จ หน้าที่ของอาจารย์จะให้คำแนะนำนักเรียนในการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น โดยยึดความคิดของนักเรียนเป็นหลัก และมีความเห็นของอาจารย์เป็นส่วนเสริม รวมถึงการได้รับความสนับสนุนจากโรงเรียนและผู้ปกครอง  

            ที่ผ่านมาทางโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้ส่งผลงานนวัตกรรมของนักเรียนเข้าร่วมการประกวดรายการต่างๆ 5 – 6 ประเทศต่อปี โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) และบางเวทีทางโรงเรียนส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเอง

            “เราทำงานนี้มา 7 ปีแล้ว ปีแรกๆ ที่ไปแข่งขันในต่างประเทศ เราเป็นชาติแรกๆ ที่ส่งเด็กไปแข่งขันในรายการที่มีผู้แข่งขันเป็นระดับผู้ใหญ่ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก” อ.จีระศักดิ์เล่าถึงประสบการณ์ในการนำนักเรียนไปแข่งขันในต่างประเทศ

            ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทุกคนต้องเรียนออนไลน์ที่บ้าน อ.จีระศักดิ์มองว่าไม่ได้ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพทางด้านนวัตกรรมของนักเรียน แต่กลับทำให้นักเรียนมีเวลาคิดค้นพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น ในปีที่ผ่านมาศูนย์นวัตกรรมโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ได้ส่งผลงานของนักเรียนเข้าร่วมการประกวดมากที่สุดตั้งแต่ที่เคยส่งมา

             อ.จีระศักดิ์ยืนยันว่าความสามารถของเด็กไทยสามารถสู้กับต่างชาติได้ โดยจะสอนเด็กเสมอว่ารางวัลเป็นสิ่งที่วัดผลงานที่นักเรียนสร้างสรรค์ขึ้นมาว่าอยู่ในระดับใด เพื่อปรับปรุงพัฒนาผลงานให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นต่อไป

            กร เหมรัญช์โรจน์ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม หนึ่งในผู้ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่ประเทศโปแลนด์  กล่าวว่า การสร้างงานนวัตกรรมให้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ และให้วิธีคิดในการทำงานให้ออกมาดีที่สุด ตนสนใจงานนวัตกรรรมตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ป.5 และได้เริ่มส่งผลงานประกวดแข่งขันตามเวทีต่างๆ  ผลงานนวัตกรรมที่โดดเด่นของน้องกร เช่น เกมฝึกคลื่นสมองเพื่อพัฒนาสมาธิและการจดจ่อ ผ้ากรองแสงยูวี หมอนลดการนอนกรนโดยการปรับระดับศีรษะ ฯลฯ

            รศ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คุณแม่ผู้ให้การสนับสนุนน้องกรในการสร้างสรรค์งานนวัตกรรม เผยว่า “สิ่งสำคัญต้องให้เขารู้จักคำว่าผิดหวัง ถ้าพยายามต่อไปความสำเร็จก็จะเกิดขึ้น ถ้าเราไม่ให้กำลังใจตรงนี้ เขาจะเสียโอกาสในการเรียนรู้ ความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ ความสำเร็จเป็นเพียงก้าวหนึ่ง ต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ”

            ปรมิศวร์ แสงมณี นักเรียนชั้น ป.6  นวัตกรคนเก่งที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์นวัตกรรม โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมจนได้รับรางวัลทางด้านนวัตกรรมมาแล้วมากมาย ได้เผยถึงแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานนวัตกรรมว่ามาจากความสนใจเรื่องปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมชิ้นแรกที่ทำเมื่อเรียนอยู่ชั้น ป.3 คือ “Sea Cleaner” ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากการที่เห็นขยะอยู่เต็มทะเล ทำให้อยากพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยมีคุณพ่อ(คุณสร้างบุญ แสงมณี) คอยช่วยเหลือและกระตุ้นให้สังเกตปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัว

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า