รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 กรกฎาคม 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ยังคงพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องจากคลัสเตอร์ใหม่ในพื้นที่สีแดงเข้มหลายแห่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศ คณะนักวิจัยนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย พยุงภร ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเร่งพัฒนานวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID-19 SCAN” ที่ใช้สะดวก รวดเร็ว ราคาไม่แพง ประสิทธิภาพความแม่นยำใกล้เคียงมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข (Real-time PCR)
“สำหรับคนที่กังวลว่าตนอาจเสี่ยงติดโควิด-19 ถ้าเข้าโรงพยาบาล และขอตรวจแล้วแต่เขาไม่รับตรวจเนื่องจากไม่เข้าข่ายผู้มีความเสี่ยงสูงและไม่มีอาการร่วม คนกลุ่มนี้อาจเลือกใช้ชุดตรวจ COVID-19 SCAN ซึ่งตรวจได้ครอบคลุมและรวดเร็ว ทีมวิจัยจุฬาฯ ตั้งใจสร้างชุดตรวจนี้ขึ้นเพื่อบริการประชาชนทั่วไปให้เข้าถึงการตรวจได้สะดวกที่สุด” รศ.ดร.สัญชัย กล่าว
คุณสมบัติเด่นของนวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 COVID-19 SCAN เป็นการตรวจทางอณูชีววิทยา (Molecular Test) แบบเดียวกับ Real-time PCR ซึ่งใช้ตรวจได้ทั้งสิ่งส่งตรวจตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจ (Throat swab) และตัวอย่างน้ำลาย ซึ่งการใช้ตัวอย่างน้ำลายมีข้อดีคือเก็บตัวอย่างสะดวกและตรวจพบเชื้อได้สูงภายใน 11 วันแรกที่มีอาการ ทั้งยังไม่ระคายเคือง (จากการเก็บตัวอย่าง) กว่าการ Swab จึงทำให้ตรวจได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ระยะเวลาการตรวจใช้เวลาราว 90 นาที – 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณตัวอย่าง
ชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 COVID-19 SCAN จะตรวจโดยใช้กระบวนการสกัดสารพันธุกรรมและการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมภายใต้อุณหภูมิเดียว จากนั้นจึงตรวจหาสารพันธุกรรมจำเพาะด้วยระบบ CRISPR-Cas12a หากพบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 เป็นผลบวก จะเกิดการเรืองแสงขึ้นภายใต้เครื่องกำเนิดแสงสีฟ้า (Blue light transilluminator)
ประสิทธิภาพของ COVID-19 SCAN ในการวินิจฉัยทางคลินิกมีความจำเพาะ 100% ความไว 96.23% และความแม่นยำ 98.78% โดยใช้เครื่องมือไม่ซับซ้อนและใช้พื้นที่เก็บผลตรวจน้อย เหมาะกับโรงพยาบาลต่างจังหวัดและคลินิกทั่วไปที่ไม่มีเครื่อง Real-time PCR ราคาสูง ขณะที่ประสิทธิผลของชุดตรวจทั้งสองได้ผลถูกต้องแม่นยำใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้น ชุดตรวจ COVID-19 SCAN จึงเหมาะสำหรับการออกตรวจเพื่อคัดกรองเชิงรุกนอกสถานที่อย่างเช่นในนิคมอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ดี ชุดตรวจดังกล่าวยังไม่อาจให้คนทั่วไปใช้งานได้เอง ยังคงต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ โดยมีค่าใช้จ่ายในการตรวจต่ำกว่าการตรวจด้วย Real-time PCR ประมาณ 50%
COVID-19 SCAN จึงเหมาะกับภารกิจตะลุยตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งในหน่วยงานทางการแพทย์ที่ต้องตรวจหาผู้ติดเชื้อเป็นประจำ เช่น หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อตรวจคัดกรองบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยโรคไตก่อนเข้ารับการฟอกไต (hemodialysis) รวมทั้งศูนย์วิจัยโรคเอดส์และสภากาชาดไทยโดยใช้กับอาสาสมัครผู้ติดเชื้อ HIV ที่หน่วย HIV-NAT หลังได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เพื่อประเมินประสิทธิผลของวัคซีนในผู้ป่วย นอกจากนี้ยังใช้ประจำที่กลุ่มงานทันตกรรมเช่นที่โรงพยาบาลสันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เพื่อตรวจบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษาทันตกรรม
ชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID-19 SCAN” ประชาชนทั่วไปไม่สามารถนำไปใช้เองได้ โรงพยาบาล หน่วยงานทางการแพทย์ หรือบริษัทที่สนใจชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 “COVID-19 SCAN” โปรดสอบถามรายละเอียดได้ที่ http://www.covidscan.tech/ หรือติดต่อ บริษัท ไมโคร อินเจคชั่น จำกัด อีเมล covid19scan@bkf.co.th ผ่านคุณสมฤดี 092-247-0019 หรือคุณมณีรัตน์ 082-299-6333
อ.ดร.นพัต จันทรวิสูตร อ.ดร.พิริยะ วงศ์คงคาเทพ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ร่วมวิจัย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้