รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 กรกฎาคม 2564
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ข่าวเด่น
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (ฉบับที่ ๕)
——————————————
ตามที่มหาวิทยาลัยได้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราวทั้งที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตกรุงเทพมหานครออกไปจนถึงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น
เนื่องจากปรากฏว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 มีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเชื้อโรคดังกล่าวได้กลายพันธุ์ซึ่งทำให้ติดต่อกันได้ง่ายและขยายการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการติดเชื้อโรคดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความห่วงใยและเล็งเห็นถึงความสำคัญในสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาคมเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดและลดโอกาสติดเชื้อโรค COVID-19 แก่นักเรียน นิสิตและบุคลากรให้เข้มงวดยิ่งขึ้น รวมทั้งให้การดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงเห็นสมควรให้ดำเนินการดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔
การใดที่ได้ดำเนินการหรือสั่งการไปแล้วตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้มีผลอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับความในประกาศนี้
ข้อ ๒ ให้ขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการที่ตั้งทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตกรุงเทพมหานครออกไปตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ จนถึงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ข้อ ๓ ขอให้นักเรียน นิสิต และบุคลากรปฏิบัติตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การปิดสถานที่ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ลงวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ต่อไป เว้นแต่ประกาศนี้จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๔ ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแล สั่งการและกำชับให้บุคลากรในสังกัดทุกคนปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัยของตนเอง เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง
ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแล สั่งการหรืออนุญาตให้บุคลากรคนใดมาปฏิบัติงานในพื้นที่มหาวิทยาลัยหรือสถานที่อื่น เฉพาะการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
(๑) การรักษาความปลอดภัยสถานที่ทำการของมหาวิทยาลัยหรือส่วนงาน
(๒) การให้บริการทางการแพทย์ เฉพาะกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นอย่างยิ่ง
(๓) การดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพของมหาวิทยาลัยหรือส่วนงาน
(๔) การดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศของมหาวิทยาลัยหรือส่วนงาน
(๕) การดำเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ คำพิพากษาหรือคำสั่ง ข้อตกลงหรือข้อสัญญาที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนหรือให้ทันตามกำหนดเวลา
(๖) การดูแลนิสิตหรือบุคลากรที่พักอาศัยในหอพักของมหาวิทยาลัย
(๗) การอื่นใดอันจำเป็นเร่งด่วนตามที่หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลสั่งการหรืออนุญาต
บุคลากรที่ได้รับคำสั่งหรือได้รับอนุญาตตามวรรคสองจะเข้ามาในพื้นที่มหาวิทยาลัยได้ก็ต่อเมื่อได้รับวัคซีน AstraZeneca เข็มแรก วัคซีน Sinovac เข็มที่สอง หรือวัคซีนชนิดอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับรอง แล้วแต่กรณี มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
ข้อ ๕ บุคลากรหรือนิสิตจะพักอาศัยในหอพักของมหาวิทยาลัยได้ก็ต่อเมื่อได้รับวัคซีน AstraZeneca เข็มแรก วัคซีน Sinovac เข็มที่สอง หรือวัคซีนชนิดอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับรอง แล้วแต่กรณี มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
กรณีมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ให้รองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแล เสนอเรื่องพร้อมทั้งเหตุผลประกอบเพื่อให้คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน โควิด-19 พิจารณา
ข้อ ๖ นอกจากกรณีตามข้อ ๔ วรรคสองและข้อ ๕ มหาวิทยาลัยจะอนุญาตให้นิสิต บุคลากร หรือบุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่มหาวิทยาลัยเฉพาะกรณีที่เข้ามารับวัคซีนป้องกันเชื้อโรค COVID-19 เท่านั้น
ข้อ ๗ ขอให้บุคลากรหรือนิสิตงดการเดินทางข้ามจังหวัดเพื่อไปปฏิบัติงานหรือทำวิจัยภาคสนาม เว้นแต่มีความจำเป็นเร่งด่วน ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการอื่นได้ และหากไม่ได้เดินทางไปปฏิบัติงานหรือทำวิจัยดังกล่าวแล้วจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลพิจารณา ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของบุคลากรหรือนิสิตในการไปปฏิบัติงานหรือทำวิจัยภาคสนามในพื้นที่นั้นเป็นสำคัญ
บุคลากรหรือนิสิตที่ได้รับคำสั่งหรือได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งจะเดินทางไปปฏิบัติงานหรือทำวิจัยภาคสนามได้ก็ต่อเมื่อได้รับวัคซีน AstraZeneca เข็มแรก วัคซีน Sinovac เข็มที่สอง หรือวัคซีนชนิดอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับรอง แล้วแต่กรณี มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน และขอให้บุคลากรหรือนิสิตนั้นปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ทางราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่ที่เดินทางไปกำหนดโดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงเป็นประการใด มหาวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบโดยเร็วต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์)
อธิการบดี
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้