รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 กรกฎาคม 2564
ภาพข่าว
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ จัดการประชุมเชิงวิชาการระดับภูมิภาค เรื่อง “การส่งเสริมการมีงานทำที่มีคุณค่าสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อสังคมสำหรับคนทุกวัย ในประเทศอาเซียนบวกสามระหว่างและภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19” (Promoting Decent Work for Older Persons for an Inclusive Society in ASEAN+3: Strengthening A More Resilient and Inclusive Society During and After the COVID-19 Pandemic) เมื่อวันที่ 28 – 29 มิถุนายน 2564 โดยมี นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมการประชุม และกล่าวรายงานโดย นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดี กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
การประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อรวบรวม ศึกษาข้อมูลด้านการส่งเสริมการมีรายได้และการมีงานทำของผู้สูงอายุในกลุ่มประชาคมอาเซียนบวกสามในระหว่างและภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสร้างเครือข่ายในเชิงวิชาการด้านผู้สูงอายุในกลุ่มประชาคมอาเซียนบวกสาม ในงานมีผู้ประสานงานหลักสาขาสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (SOMSWD Focal Points) จากประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศบวกสาม สำนักเลขาธิการอาเซียน องค์การระหว่างประเทศ องค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล
ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มเสี่ยงในช่วงการระบาดของ COVID-19 การส่งเสริมการทำงานที่มีคุณค่าสำหรับผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญในการเตรียมการและการวางแผนสำหรับการฟื้นตัวในระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 และควรดำเนินการควบคู่ไปกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดี และการพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงความรู้ด้านดิจิตัลสำหรับผู้สูงอายุเพื่อคงความเป็นพฤฒพลัง เสริมสร้างศักยภาพและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ
การประชุมวิชาการครั้งนี้มีการบรรยายในหัวข้อ “ประชากรสูงอายุและงานที่มีคุณค่าในอาเซียน” โดยผู้แทนจากคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ “ความท้าทายและโอกาสของผู้สูงอายุในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของการระบาดใหญ่ของ COVID-19” โดยผู้แทนกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ “การส่งเสริมงานที่มีคุณค่าของผู้สูงอายุเพื่อสังคมสำหรับคนทุกวัยและการฟื้นคืน” โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และ “ผู้สูงอายุและกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 : สังคมที่ฟื้นคืนและสังคมเพื่อทุกคน” โดยสำนักเลขาธิการอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานของประเทศอาเซียนในประเด็นนโยบายมาตรการและการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ และการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหารือในการจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมการมีงานทำที่มีคุณค่าสำหรับผู้สูงอายุระหว่างและภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในทุกมิติ
ในการนี้โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาอารี) และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงาน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมเป็นภาคีร่วมทางเทคนิคในการจัดประชุมวิชาการ ASEAN+3 ด้วย
นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ
นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดี กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้