รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 กรกฎาคม 2564
ข่าวเด่น
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ประธานคณะกรรมการโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 แก่ประชาคมจุฬาฯ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ใน 2 ประเด็นดังนี้
– การจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ (โครงการ CU VP) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ประสานความร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุขในการจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ ขึ้นสองแห่ง คือที่อาคารจัตุรัสจามจุรีและศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ที่อาคารจามจุรี 9 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งนิสิต นักศึกษา และหน่วยงานบริการสาธารณะต่างๆ โดยยึดหลัก 3 ประการคือ “ปูพรม ปลอดภัย และประสิทธิผล” ได้ฉีดวัคซีนให้หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 100 แห่ง ฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า 1 แสนโดส ซึ่งงานนี้ได้รับความร่วมมือร่วมใจเป็นอย่างดีจากคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตจากทุกคณะและส่วนงานในจุฬาฯ ปัจจุบันศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ ยังคงเปิดให้บริการที่ศูนย์บริการสุขภาพฯ อาคารจามจุรี 9 ขอบคุณประชาคมจุฬาฯ ที่ทำให้จุฬาฯ มีส่วนช่วยเหลือสังคม และเป็นเสาหลักในยามที่ประเทศชาติประสบปัญหา
– สถานการณ์โควิด-19 เป็นที่ทราบกันว่าสถานการณ์โควิด-19 ในกรุงเทพมหานครค่อนข้างรุนแรงมาก เห็นได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน ผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น มีคลัสเตอร์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเกือบทุกวัน ล่าสุดรัฐบาลได้ประกาศข้อกำหนดและคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 และมหาวิทยาลัยก็ได้ออกประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (ฉบับที่ 5) เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยจุฬาฯ ได้ขยายการปิดมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2564 และให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีสั่งการและกำชับให้บุคลากรปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยของตน เนื่องจากในขณะนี้เตียงในโรงพยาบาล ที่ใช้รองรับผู้ป่วยโควิดในกรุงเทพมหานครถึงจุดที่มีไม่พอแล้ว ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อรอรับการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
หากผู้อยู่ในระยะแพร่เชื้อเข้ามาในพื้นที่ และมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ผลที่ตามมาก็คือต้องมีการตรวจหาเชื้อให้กับผู้ที่อยู่ในวง 1 หรือคนที่ไม่มั่นใจว่าตัวเองเป็นวง 1 อีกทั้งยังต้องจัดการฆ่าเชื้อและทำความสะอาดตามมาตรฐาน การจัดหาสถานพยาบาล และส่งตัวผู้ป่วยไม่รู้จบ ถ้าสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ ในอนาคตอันใกล้ ผู้ติดเชื้อคงจะต้องเตรียมพร้อมที่จะทำ home isolation หรือการกักตัวในที่พักอาศัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงขอความร่วมมือจากประชาคมจุฬาฯ ใน 3 ประการ ดังนี้ 1. ไม่เข้ามาในพื้นที่มหาวิทยาลัย ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เช่น งานด้านการรักษาความปลอดภัย การให้บริการทางการแพทย์ การดูแลด้านกายภาพและไอที งานด้านการดูแลนิสิตหรือบุคลากรที่พักอาศัยในหอพัก เป็นต้น และผู้ที่จะเข้ามาต้องผ่านการฉีดวัคซีน ตามประกาศกรรมการโควิด-19 จุฬาฯ
2. หากท่านมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ท่านต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนงานของท่านก่อน จึงจะสามารถเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่จุฬาฯ ได้
3. หากมีนิสิตหรือบุคลากรที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ขอให้รีบเข้ารับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนที่มหาวิทยาลัยจัดสรรให้ หรือวัคซีนทางเลือกที่ท่านต้องการ เพราะหากท่านบังเอิญติดเชื้อโควิด อาการป่วยของท่านจะไม่หนักและไม่ถึงแก่ชีวิต เป็นการช่วยเหลือตัวท่านเอง ช่วยเหลือครอบครัวของท่าน และสังคมส่วนรวม
สุดท้ายนี้ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ได้ย้ำให้ทุกท่านปฏิบัติตามนโยบายของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด และขอให้ท่านดูแลสุขภาพของตัวเองและครอบครัวให้ปลอดภัย อยู่กับบ้านให้มากที่สุด เราจะผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกันให้ได้ จนกว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลาย
หน้ากาก “POR-DEE” นวัตกรรมเพื่อสุขภาพจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับซีพี ป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสม
งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ยิ่งใหญ่งดงามสานความสามัคคี
รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมอบรมหลักสูตร Cartier Women’s Initiative (CWI) Entrepreneurial Program
นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์ “Thailand New Gen Inventors Award 2025”
บทความวิชาการของอาจารย์และนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับรางวัล JDR Award for the Most Cited Paper 2024 ที่ประเทศญี่ปุ่น
จุฬาฯ – กรมอนามัย สานต่อเปิดหลักสูตร “เวฬา รุ่นที่ 3” สำหรับผู้บริหารระดับสูงด้านสุขภาพและการแพทย์ของไทย สู่ Medical Hub ของโลก
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้