ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมาย PDPA ที่นิสิตควรรู้

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 กฎหมาย PDPA จะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรือจัดเก็บ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามย่อมมีบทลงโทษตามกฎหมาย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของนิสิตจุฬาฯ ซึ่งจำเป็นต้องรู้เท่าทันกฎหมายฉบับนี้  เพื่อให้รอดพ้นจากการกระทำที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบตามมาหากขาดความรู้เดี่ยวกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้  มหาวิทยาลัยจึงได้สรุปข้อมูลที่นิสิตควรรู้เกี่ยวกับข้อกฏหมายและแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

  • นิสิตเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 โดยสามารถศึกษา พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ได้ที่ https://sites.google.com/view/pdpa-2019/pdpa-home
  • จุฬาฯ ให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)
  • จุฬาฯ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของนิสิตเท่าที่จำเป็น เพื่อนำไปใช้ดำเนินการตามหน้าที่ของจุฬาฯ (ตามแบบฟอร์มระเบียนประวัตินิสิต จท.20 และระเบียนประวัตินิสิต (ข้อมูลสุขภาพ) จท.20/1 ที่นิสิตให้ไว้)
  • กรณีที่มีแบบสำรวจหรือการขอข้อมูลอื่นที่นอกเหนือจากนั้น คณะ/หน่วยงานจะดำเนินการขอความยินยอมอย่างชัดเจนต่อไป
  • จุฬาฯ ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับตั้งแต่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 นี้ นิสิตจึงมั่นใจได้ว่าจุฬาฯ ได้ใช้ข้อมูลตามที่จำเป็นเท่านั้น และมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม
  • นิสิตควรต้องศึกษารายละเอียด นโยบายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงานการทะเบียน และคณะที่นิสิตสังกัด

– สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน  E-mail : Pichitchai.C@chula.ac.th

– ดูรายละเอียดนโยบายของสำนักงานการทะเบียน ด้านข้อมูลส่วนบุคคลของนิสิต ได้ที่ https://www.reg.chula.ac.th

– ลงทะเบียนเรียนรู้กฎหมายเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้ที่ Chula MOOC  https://mooc.chula.ac.th/courses/218

– ศึกษา พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ได้ที่ https://sites.google.com/view/pdpa-2019/pdpa-home


จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า