ข่าวสารจุฬาฯ

ครุศาสตร์ จุฬา ฯ ร่วมโครงการ Educational Network for Practical Information Technologies นิสิตร่วมนำเสนอโครงการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน

คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือกับ The University of Aizu ประเทศญี่ปุ่น ร่วมโครงการ Educational Network for Practical Information Technologies (enPiT)  ซึ่งอยู่ในหลักสูตร Creativity Development Program ของ The University of Aizu โดยกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (MEXT) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการศึกษาทักษะการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมในอนาคต หลักสูตรนี้จะเน้นการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการแก้ปัญหาผ่านจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงการเป็นฐาน (Project-based learning) โดยคณะครุศาสตร์ จุฬาฯได้ร่วมลงนามความร่วมมือกับ The University of Aizu  เป็นระยะเวลา 5 ปี

โครงการดังกล่าวได้คัดเลือกนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวน 37 มหาวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการ  โดย นายศิวกรณ์ มาลากุล  นางสาวนภา จำปาทิพย์ และนางสาวธนภรณ์ มโนสัมฤทธิ์  นิสิตภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร คณะครุศาสตร์ได้รับคัดเลือกจากคณะเข้าร่วมโครงการนี้

โดยนิสิตทั้งสามได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนพื้นที่เมืองมินามิไอซึ จังหวัดฟุกุชิมา เกี่ยวกับบ้านร้างและพื้นที่รกร้าง สภาพพื้นที่ ศักยภาพ และความเป็นมาของเมือง เพื่อการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี นำมาออกแบบโครงการต้นแบบร่วมกับนักศึกษาจาก The University of Aizu และ Nihon University  ประเทศญี่ปุ่น  นำเสนอต่อเทศบาลเมืองมินามิไอซึ ในรูปแบบแอปพลิเคชันที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ของบ้านร้างและที่ดินรกร้าง ผ่านโครงการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน 3 โครงการ ได้แก่

  •   โครงการ Return โครงการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่เป็นนายหน้าให้เช่าหรือขายบ้านร้างเพื่อการทำธุรกิจ โดยสร้างเรื่องราว (Storytelling) ของบ้านและชุมชนเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าของภูมิลำเนาและสร้างแรงจูงใจในการสร้างธุรกิจเพื่อพัฒนาชุมชนในภูมิลำเนา รวมถึงการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมธุรกิจที่เกิดขึ้น
  • โครงการ De Lorean เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ที่สนใจบ้านในต่างจังหวัดของญี่ปุ่น ได้มีโอกาสเลือกในการศึกษาข้อมูลก่อนทำการเช่าหรือซื้อขาย
  • โครงการ “VH Sharing” Collect & promote vacant house usage ที่ให้ผู้ที่มีบ้านที่ไม่มีคนอยู่อาศัยหรือบ้านร้างได้มีช่องทางในการซื้อ/ขายบ้านของตนเอง เพื่อลดการเสียประโยชน์จากบ้านที่ไม่ได้รับการใช้งานให้มีประโยชน์สูงสุดในราคาที่สามารถตกลงกันได้ โดยผู้ซื้อจะสามารถรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับต่อบ้านก่อนจัดสินใจซื้อ และผู้ขายได้มีพื้นที่ในการลงขายบ้านที่ตนเองไม่ได้ใช้แล้ว

ผลงานของนิสิตทั้งสามเป็นการนำความรู้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมและสามารถนำมาใช้ได้จริงผ่านช่องทางแอพพลิเคชัน เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของการใช้ชีวิตในสังคมโลก

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า