รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 กรกฎาคม 2564
ข่าวเด่น
จากการบรรยายพิเศษ Chula Pharma Talk เรื่อง “ประเด็นสำคัญในการเก็บและการเตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech” ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ผศ.ภก.ดร.ปดินทร์ ติวสุวรรณ และ ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า วัคซีนโควิดชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech ที่สหรัฐอเมริกาจะบริจาคให้ประเทศไทยและจะส่งมอบสู่กลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรการแพทย์ด่านหน้าเพื่อพร้อมฉีดในต้นเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้วัคซีนคงประสิทธิภาพจนได้รับการฉีดเข้าสู่ผู้รับวัคซีน มีข้อควรระวังทั้งในด้านการขนส่ง การเก็บรักษา ตลอดจนรายละเอียดในการเตรียมวัคซีน ผู้รับผิดชอบในกระบวนการจัดการเกี่ยวกับวัคซีนต้องเตรียมการอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอุณหภูมิและการควบคุมห่วงโซ่ความเย็น เนื่องจากวัคซีนชนิด mRNA ต้องควบคุมอุณหภูมิระหว่างการขนส่งที่ต่ำถึง -70 องศาเซลเซียส และมีความคงตัวที่อุณหภูมิต่างๆ ที่แตกต่างกัน เช่น เมื่ออยู่ที่ -70 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้จนถึงวันหมดอายุหรือประมาณ 6 เดือนหลังจากผลิต หากสถานพยาบาลที่รับวัคซีนมาไม่มีแหล่งที่สามารถเก็บวัคซีนไว้ได้ในอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส วัคซีนที่ได้รับจัดสรรมาจะสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้เพียง 31 วัน หรือ 1 เดือนนับจากวันที่เริ่มเก็บ และเมื่อวัคซีนถูกนำออกมาจากตู้เย็นและถูกเตรียมโดยการละลายและผสมเพื่อพร้อมจะฉีดแก่ผู้รับวัคซีนแล้ว ความคงตัวหลังผสมยาเสร็จจะเหลือเพียง 6 ชั่วโมงที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ดังนั้นในการบริหารจัดการต้องมีการวางแผนการดำเนินการที่รัดกุมเพื่อให้ผู้รับบริการรับวัคซีนได้ทันเวลา ลดโอกาสสูญเสียยาที่เตรียมแล้วอาจหมดอายุก่อนฉีด รวมถึงหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดและแสง UV โดยตรงในระหว่างการเก็บรักษา แต่สามารถเตรียมผสมวัคซีนที่ละลายจากการแช่แข็งแล้วในห้องที่มีแสงสว่างได้
ในการบรรยายพิเศษครั้งนี้ ผศ.ภก.ดร.ปดินทร์ และ ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดายังได้กล่าวถึงการเตรียมผสม เทคนิค รวมถึงอุปกรณ์ในการบริหารวัคซีนชนิด mRNA ที่แตกต่างจากวัคซีนโควิดชนิดอื่นที่เคยใช้ ผู้เตรียมและผู้บริหารยาต้องทราบและเพิ่มความระมัดระวังในการเตรียมวัคซีน เช่น ห้ามเขย่าวัคซีนโดยเด็ดขาด มีคำแนะนำให้ใช้เข็มดูดวัคซีนเป็นอันเดียวกันกับเข็มฉีดให้ผู้รับวัคซีนเพื่อลดการสูญเสียยาจากการเปลี่ยนเข็ม ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการตั้งแต่การรับยา เก็บรักษา เตรียมผสม และฉีดยาจึงควรเตรียมการอย่างรัดกุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมอุณหภูมิในแต่ละขั้นตอนอย่างดี เพื่อให้วัคซีนคงประสิทธิภาพสูงสุด
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้