รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น
จากการบรรยายเรื่อง “ประเด็นสำคัญในการเก็บและการเตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech” EP.2 ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 เพื่อตอบข้อสงสัยและเตรียมความพร้อมแก่เภสัชกรที่รับผิดชอบในการรับมอบวัคซีนชนิด mRNA จาก Pfizer และป้องกันความผิดพลาดในการจัดการวัคซีน
ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ และ ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า ในเบื้องต้นคาดว่าวัคซีนจะถูกจัดส่งไปถึงโรงพยาบาลต่างๆ ด้วยอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส ทางโรงพยาบาลจะเก็บรักษาวัคซีนในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส เมื่อเก็บในตู้เย็นแล้ว วัคซีนจะมีอายุเพียง 1 เดือน หรือ 31 วันเท่านั้น
ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ และ ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา ได้เผยถึงข้อกังวลในเรื่องการขนส่งวัคซีนจาก โรงพยาบาลต้นทางที่รับกระจายวัคซีนต่อไปยังหน่วยงานย่อย จะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิตลอดการขนส่ง รวมถึงประเด็นเรื่องการป้องกันไม่ให้วัคซีนกระทบกระแทก เนื่องจากโครงสร้างของวัคซีน mRNA ค่อนข้างบอบบาง การบรรจุยาในภาชนะเพื่อการขนส่งจึงเป็นความท้าทายที่เภสัชกรต้องวางแผนเตรียมการไว้แต่เนิ่นๆ
นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลในเรื่องวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งมีความแตกต่างในการผสมและการบริหารจัดการ เนื่องจากรูปแบบของวัคซีนที่มีความเข้มข้น ต้องเจือจางด้วย 0.9% NaCl solution for injection ก่อนใช้ การเติมตัวทำละลาย การทำให้เข้ากันและการดูดใส่เข็มฉีดยาเพื่อนำไปฉีดต้องทำด้วยความระมัดระวัง วัคซีนที่เจือจางพร้อมใช้ 1 ขวด หากดูดวัคซีนด้วยเข็มฉีดยาที่มีปริมาตรยาตกค้างต่ำจะสามารถดูดวัคซีนและนำไปฉีดได้ 6 โดส เมื่อวัคซีนถูกเจือจางที่อุณหภูมิห้องไม่เกิน 30 องศาเซลเซียสแล้ว จะมีอายุเหลือเพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
(ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาการบรรยาย “ประเด็นสำคัญในการเก็บและการเตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech” EP.2)
https://www.facebook.com/Pharmacy.CU/videos/552667025888019/
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้