ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ ประหยัดวัคซีน พร้อมช่วยแบ่งเบาภาระบุคลากรแพทย์

เมื่อวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม 2564  ณ อาคารจามจุรี 9 ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล  รองอธิการบดี จุฬาฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดบริการฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด-19 จุฬาฯ (CU VP) ผศ.ดร.จุฑามาศ  รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.ศรันย์ กีรติหัตถยากร สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯร่วมงานเปิดตัวนวัตกรรม”เครื่องแบ่งวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ” (Automate Vaccine) ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชนพัฒนาขึ้น ซึ่งมีการนำมาใช้จริงแล้วที่ศูนย์บริการวัคซีน จุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 

            ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่าปัญหาในการฉีดวัคซีนที่เกิดขึ้นมีอยู่สองประเด็น คือ เรื่องความละเอียดถี่ถ้วนในการฉีดวัคซีน โดยใช้ปริมาณวัคซีนที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันต้องใช้แรงงานคนในการแบ่งบรรจุวัคซีน การนำเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัตินี้เข้ามาใช้จะเป็นประโยชน์ในเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย และอีกประเด็นคือเรื่องของความจำกัดของปริมาณวัคซีนที่กระจายสู่ประชาชน หากเราสามารถแบ่งบรรจุวัคซีนได้แม่นยำ ก็จะช่วยประหยัดวัคซีน ทำให้ไม่เสียเปล่า เป็นการใช้วัคซีนให้คุ้มค่าที่สุด

            ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ทางคณะฯ ได้รับโจทย์โดยตรงจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เล็งเห็นปัญหาของการแบ่งบรรจุวัคซีนแอสตราเซเนกาซึ่งเป็นวัคซีนที่บรรจุมาในแบบหลายโดสใน 1 ขวด (multiple dose) โดย 1 ขวด บรรจุ 13 โดส สามารถแบ่งฉีดได้ 10 โดส ซึ่งการดูดวัคซีนขึ้นมาแบ่งบรรจุโดยบุคลากรทางการแพทย์  แต่ละรอบจะมีการสูญเสียวัคซีนเกิดขึ้น หากมีวิธีที่จะรักษาโดสที่เกินมาในแต่ละขวดได้ ก็จะเป็นการเพิ่มจำนวนวัคซีนซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมากในขณะนี้ เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนดังกล่าวสามารถดูดวัคซีนออกจากขวดได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว และสามารถแบ่งบรรจุได้ถึงขวดละ 12 โดส ทำให้มีวัคซีนในการฉีดเพิ่มขึ้น 20% ทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการแบ่งบรรจุวัคซีน

              ในการทำงานของเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่จะต้องเตรียมเข็มฉีดยาวางไว้บนแท่นจำนวน 12 หลอด จากนั้นนำขวดวัคซีนวางไว้ในจุดที่กำหนด เครื่องจะดูดวัคซีนออกมาจนหมดขวดโดยใช้หัวดูดสุญญากาศ โดยใช้หลักการดูดของเหลว พร้อม Air Cushion ทำให้วัคซีนไม่สัมผัสกับหัวดูดโดยตรง จากนั้นจะเคลื่อนไปแบ่งบรรจุลงเข็มฉีดยาตามจำนวนที่กำหนด คือ 0.5 มิลลิลิตรเท่ากันทั้ง 12 หลอด ตัวเครื่องทำงานแบบสายพาน ทำให้แบ่งบรรจุวัคซีนลงหลอดฉีดยาอย่างต่อเนื่อง แม่นยำ และรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 4 นาทีเท่านั้น จากนั้นปิดหลอดด้วยเข็มฉีดยา และนำมาเก็บใส่ถาดบรรจุวัคซีนเพื่อนำไปใช้ฉีดต่อไป

            นอกจากนี้ นวัตกรรมเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแบ่งบรรจุวัคซีนทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นประเภทหลายโดสใน 1 ขวดได้ด้วยเช่นกัน 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า