รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น
จากการเสวนาหัวข้อ “ฟังให้ชัดกับการเลือกซื้อฟ้าทะลายโจรในสภาวะวิกฤต ในประเด็น ราคา คุณภาพ และความปลอดภัย” ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 วิทยากรในการเสวนาได้เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและการนำไปใช้อย่างเหมาะสมปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีการนำฟ้าทะลายโจรให้อยู่ในแผนการดูแลผู้ป่วย COVID-19
ในมุมของสภาองค์กรของผู้บริโภค คุณสารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการจำหน่ายฟ้าทะลายโจรในราคาที่สูงมากอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งพบได้ทั่วไปรวมทั้งใน platform ออนไลน์ อีกทั้งยังพบการจำหน่ายฟ้าทะลายโจรปลอมและการสวมทะเบียนผลิตภัณฑ์อื่น ทั้งนี้สภาองค์กรฯ พยายามจะประสานไปยังผู้เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ แต่ก็ยังไม่ได้รับการประสานงานอย่างจริงจัง
รศ.ภญ.ดร.มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่าปัจจุบันไม่มีการวิจัยยืนยันว่าฟ้าทะลายโจรสามารถใช้ในการป้องกันโรค COVID-19 จึงไม่แนะนำให้ใช้ในการป้องกัน เพราะพบว่าหลายคนใช้ในขนาดต่ำๆ เป็นระยะเวลานาน แล้วพบว่าค่าเอนไซม์ Enzyme บางชนิดในตับสูงขึ้น มีการอ้างถึงในกรณีของการใช้ฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ของ นพ.อเนก มุ่งอ้อมกลาง ในเรือนจำกลางของ กทม.มีการใช้ผงฟ้าทะลายโจรที่มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) 144 มิลลิกรัม/วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง ในกรณีที่เราไม่ทราบปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ที่แน่นอน อาจอ้างอิงการใช้จากบัญชียาหลักแห่งชาติ ในการรักษาไข้หวัด ซึ่งแนะนำว่าสามารถใช้ได้สูงสุดสำหรับผู้ใหญ่ ครั้งละ 3 กรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน
ทั้งนี้ กรมการแพทย์มีแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิดในกลุ่มสีเขียว ที่ไม่มีอาการ โดยให้การใช้ฟ้าทะลายโจร 180 มิลลิกรัม/วัน แบ่งให้ 3 ครั้ง (มื้อละ 60 มิลลิกรัม) ซึ่งควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ ซึ่งในปัจจุบัน กรณีที่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) จะห้ามใช้คู่กับฟ้าทะลายโจร ดังนั้นการใช้ฟ้าทะลายโจรจะต้องมีการติดตามประสิทธิผล รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจะเกิดขึ้น เบื้องต้นรับประทานติดต่อกัน 5 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น ถ้าไม่มีความเสี่ยงเรื่องตับ อาจจะรับประทานต่อได้ แต่ควรจะไม่เกิน 14 วัน
รศ.ภญ.ดร.มยุรี แนะนำว่าหากนำใบฟ้าทะลายโจรมาใช้ ทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรแนะนำให้ใช้ใบฟ้าทะลายโจรจากต้นที่เริ่มออกดอกแล้ว ซึ่งในใบจะมีแอนโดรกราโฟไลด์สูงสุด โดยรับประทานครั้งละ 5-10 ใบ วันละ 3-4 ครั้ง ติดต่อกัน 5 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ควรรีบติดต่อเพื่อหายาฟาวิพิราเวียร์ นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังเรื่องยาตีกันจากการใช้ฟ้าทะลายโจร ดังนั้นจึงควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกรหากต้องรับประทานติดต่อกันเป็นหลายวัน สำหรับในเด็ก 4-11 ปี มีข้อแนะนำให้ใช้ สารแอนโดรกราโฟไลด์ 30 มิลลิกรัม/วัน แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง รับประทานไม่เกิน 5 วัน
ผศ.ภญ.ดร.สุนทรี ชัยสัมฤทธิ์โชค คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมเรื่องการดูฉลากยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพราะบางฉลากไม่มีการพูดถึงข้อมูลปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ บางฉลาก รวมถึงข้อมูลในแผ่นพับหรือตาม social media มีข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิด จงใจหลอกหลวง ในบางครั้ง อาจจะเกิดจากความไม่รู้หรือข้อมูลที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอของผู้ผลิตเอง ผู้บริโภคอาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ เช่น เว็บไซต์องค์กรที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ปัจจุบันมียาปลอมเกิดขึ้น โดยฟ้าทะลายโจรจะต้องเป็นยากลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีเลขทะเบียน G ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบชื่อการค้า รวมถึงข้อมูลต่างๆของผลิตภัณฑ์เบื้องต้นจากเว็บไซต์ของ อย. ได้ โดยไปที่ Google เพื่อค้นหา “ตรวจสอบเลข อย.” จะพบเว็บไซต์อันดับต้นๆ ที่เขียนว่า ระบบตรวจสอบการอนุญาต – กระทรวงสาธารณสุข ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้
ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ และ รศ.ภก.ดร.วรสิทธิ์ วงศ์สุทธิเลิศ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ย้ำว่าคุณภาพของฟ้าทะลายโจรไม่ได้จบแค่ปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ ซึ่งต้องใช้วิธีวิเคราะห์ที่มีความถูกต้องในการทดสอบปริมาณสารดังกล่าวในฟ้าทะลายโจร รวมถึงการควบคุมคุณภาพในแง่มุมอื่นๆ เช่น เวลาที่ใช้ ในการแตกกระจายตัวของยา ความแตกต่างจากน้ำหนักเฉลี่ย ปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนัก ปริมาณการตกค้างของตัวทำละลายที่ใช้สกัดในกรณีที่ใช้ตัวทำละลายในการสกัด และการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจร อีกทั้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข ควรให้ความสำคัญและสนับสนุนเรื่องคุณภาพและคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรแก่ประชาชน
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้