รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น
จากการสัมมนางานวิจัย“Sasin Research Seminar Series” ซึ่งสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาฯ จัดขึ้น
เมื่อเร็วๆนี้ ผศ.กรุณา แย้มพราย อาจารย์ประจำวิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์เทคโนโลยี (College of Creative Design and Entertainment Technology) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และนิสิตปริญญาเอกหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (Technopreneurship and Innovation Management-TIP) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ซึ่งมี ผศ.ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ นักวิจัยในหน่วยปฏิบัติการวิจัยวิจัยพฤติกรรมและสารสนเทศในสังคมศาสตร์ (RU-BRI) และหัวหน้าภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ได้บรรยายในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เกมส์มิฟิเคชั่น (Gamification) ในการแบ่งกลุ่มการตลาดตามไลฟ์สไตล์ของผู้สูงอายุ” (Applying Gamification to Lifestyle-Based Market Segmentation of Aging Customers) สรุปได้ดังนี้
ผศ.กรุณา กล่าวว่าเมื่อสังคมมีจำนวนประชากรที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ธุรกิจต่างๆ ก็ปรับเปลี่ยนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อรองรับกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น วิธีการปลดล็อกข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคสูงวัยคือ การให้ความสำคัญกับข้อมูลพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของคนในกลุ่มนี้
ผศ.กรุณา ได้นำประสบการณ์ตรงด้านการเรียนรู้ด้วยเกมส์และการใช้เทคนิคเกมส์ในธุรกิจ มาใช้ในการรวบรวมข้อมูล และจำแนกข้อมูลความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้บริโภคที่สูงวัย โดยพบว่าข้อกังวลเบื้องต้นของผู้สูงอายุจะเกี่ยวกับปัญหาทางร่างกายและกระบวนการรับรู้ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยทางการตลาดที่มีอายุมากมักมีข้อจำกัดในการแบ่งปันข้อมูลบางรายการ เช่น ความคิดเห็นหรือสถานะทางการเงิน และไม่ชอบตอบคำถามที่เปิดเผยตัวตน ผู้สูงอายุมักเปิดรับการแบ่งปันข้อมูลมากกว่าหากเป็นการพูดคุยเรื่องสนุก
“การวิจัยยังพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้สูงอายุชอบเล่นเกมส์อย่างน่าประหลาดใจ เกมส์ที่ผู้สูงอายุชื่นชอบมักจะเน้นไปที่การผ่อนคลายและความบันเทิง การเข้าสังคมกับผู้อื่น กิจกรรมฝึกสมองและกิจกรรมที่ท้าทายทางจิตใจ และการโต้ตอบโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น เกมส์ Candy Crush, Bejeweled และ Sudoku ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ” ผศ.กรุณา กล่าว
โครงการวิจัยนี้ได้ทดสอบการใช้กลไกเกมส์มิฟิเคชั่นในการเก็บข้อมูลทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์จากกลุ่มผู้สูงอายุ โดยได้คัดเลือกผู้สูงอายุอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ จำนวน 420 คน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านการตลาดในการให้ข้อมูลการเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้การสำรวจจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต และการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งาน ทั้งนี้จะมีการออกแบบเกมส์บนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนที่ประกอบด้วยกิจกรรม ชุดคำถามและมินิเกมส์ในหัวข้อต่างๆ เช่น อาหารหรือการออกกำลังกาย เป็นต้น และใช้กลไกในการเล่นเกมส์ เช่น การให้คะแนนความสามารถในการปรับแต่ง เช่น อัตลักษณ์ตัวตนในเกมส์ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับผู้สูงอายุ
ผศ.กรุณา ชี้ว่าการใช้กลไกเกมส์มิฟิเคชั่นอาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ที่มีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้สูงอายุ ประเด็นสำคัญคือการดึงดูดผู้ใช้งาน หลายๆ คนคิดว่าการทำแบบสอบถามนั้นน่าเบื่อ เกมส์จะช่วยให้ผู้คนเชื่อมต่อกันมากกว่าวิธีการแบบเดิม ๆ หากคนรุ่นเก่าเห็นว่าเกมส์เหล่านี้สนุก ข้อมูลที่รวบรวมได้อาจเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น บริษัทประกันชีวิตและธุรกิจทางการแพทย์
ผศ.ดร.สบิณฑ์ ศรีวรรณบูรณ์ อาจารย์สาขาวิชาการจัดการ และสาขาวิชาปฏิบัติการและเทคโนโลยี ศศินทร์ฯ ให้ข้อคิดเห็นภายหลังการนำเสนอผลงานวิจัยว่า งานวิจัยดังกล่าวมีความน่าสนใจและเข้ากับกระแสของสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ การเล่นเกมส์มีหลายแง่มุม รวมถึงวิธีที่ผู้สูงอายุกลับมาทำกิจกรรมในวัยเด็ก เช่น การเล่นเกมส์
“Sasin Research Seminar Series” จัดขึ้นวันศุกร์เว้นศุกร์เวลา 12.00 -13.00 น. ผ่านทาง Zoom ผู้สนใจเข้าร่วมฟังงานวิจัยต่างๆ ที่น่าสนใจ สามารถติดตามหัวข้อการสัมมนาและลงทะเบียนเข้าฟังได้ที่ https://bit.ly/2TlJEHI หรือ www.sasin.edu
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้