รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมการวิจัยและพัฒนาวัคซีน ChulaCOV19 และจุฬาฯ ใบยา ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระบบติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ใน Home Isolation โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ณ อาคาร ส.ธ. ชั้น 4 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ต้อนรับ
ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีรับฟังการบรรยายสรุปการดำเนินงานด้านโควิด-19 ของจุฬาฯ โดย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จากนั้นได้พูดคุยกับผู้ป่วยที่ดูแลที่บ้านผ่านระบบ TeleHealth และรับฟังการบรรยายสรุปการพัฒนาวัคซีน ChulaCOV19 ชนิด mRNA โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด -19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ต่อมานายกรัฐมนตรีพร้อมด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้เดินทางมาที่อาคารจุฬาพัฒน์ 14 ตรวจเยี่ยมการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โดยใช้เซลล์พืชเป็นแหล่งผลิต (วัคซีนใบยา) ซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นผลสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทย โดยนักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จากบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตวัคซีนจากใบยา การเพาะเลี้ยงพืชและผลิตวัคซีน และฟังการบรรยายเรื่อง “การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย” โดย ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการบรรยายเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาวัคซีนโดยใช้เซลล์พืชเป็นแหล่งผลิต (วัคซีนใบยา)” โดย ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ นักวิจัยและพัฒนาวัคซีน บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด จากนั้นนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายการดำเนินงานด้านวัคซีนในประเทศไทย
วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา เริ่มพัฒนามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ผลการทดสอบในหนูทดลองและลิงพบว่าช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ให้การสนับสนุนงบประมาณ 160 ล้านบาท แก่จุฬาฯ และบริษัทใบยาในการปรับปรุงพัฒนาโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและชีววัตถุโดยใช้พืช ณ ชั้น 11 อาคารจุฬาพัฒน์ 14 ขนาด 1,200 ตารางเมตร ซึ่งได้ผ่านมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมรองรับการผลิตวัคซีนในขั้นต้น เริ่มตั้งแต่เพาะเลี้ยงแบคทีเรียพาหะสารพันธุกรรมของโคโรนาไวรัส ปลูกถ่ายลงในใบยาสูบ เพาะพันธุ์เพิ่มจำนวน และเก็บเกี่ยวเพื่อสกัดโปรตีนสำหรับใช้ผลิตวัคซีน ก่อนนำส่งไปทำวัคซีนให้บริสุทธิ์ที่บริษัท คินเจ่นไบโอเทค จำกัด จากนั้นผสมและแบ่งบรรจุวัคซีนที่สถานเสาวภาต่อไป
ทั้งนี้ วัคซีนจุฬา-ใบยา จะเริ่มต้นทดสอบในมนุษย์ เฟสที่ 1 ช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ จำนวนประมาณ 100 คน ในขนาดโดส 10 ไมโครกรัม 50 ไมโครกรัม และ 100 ไมโครกรัม คาดว่าในไตรมาส 3 ของปี 2565 สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 ฝีมือคนไทยในประเทศเองได้มาก 1-5 ล้านโดสต่อเดือน หรือราว 60 ล้านโดสต่อปี
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ Sensory Play เสริมประสบการณ์รับรู้สัมผัส สำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี
5 พ.ย. 67 เวลา 10.00 - 12.00 น.
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญร่วมฟังสัมมนาหัวข้อ “Key Issues in Contemporary Corporate Sustainability Practices: Climate Risk, Human Rights Risk, and ESG Disclosures”
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิเศษ โชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
Chula-SI HUB บ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม Young Sustainability Practitioner รุ่นที่ 4
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้