รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 สิงหาคม 2564
ภาพข่าว
เมื่อวันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564 ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมเปิดงานสัปดาห์ความปลอดภัย Chula Safety 2021 : ชีวิตวิถีใหม่สู่ความปลอดภัยอย่างยั่งยืน (New Normal Lifestyle for Sustainable Safety) ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2564
งานสัปดาห์ความปลอดภัย Chula Safety 2021 จัดโดยคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ คปอ. จุฬาฯ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (ศปอส.) โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) และสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและใช้ชีวิตที่มุ่งเน้นการบูรณาการแนวคิดทางวิชาการให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการวางแผนจัดการความปลอดภัยในอนาคต เพื่อส่งเสริมสังคมไทยสู่ความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
พิธีเปิดงานมีเวทีเสวนาในหัวข้อ “เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตวิถีใหม่รั้วจุฬาฯ” ร่วมเสวนาโดย ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ทพ.ดร.ณัฐวุฒิ คุตตะเทพ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะทันตแพทยศาสตร์ และคุณพงศ์วิกรานต์ วิศรุตโชติกุล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความปลอดภัย บริษัท MBK จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย อ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ วิทยากรร่วมพูดคุยในประเด็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต่อการเรียนการสอน การวิจัย และการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน นอกเหนือจากการดูแลป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคแล้ว มหาวิทยาลัยยังกำหนดแนวทางการดูแลนิสิตและบุคลากรในด้านสุขภาพจิต การจัดการความเครียดจากการเรียนการทำงานออนไลน์ ครอบคลุมไปถึงการเยียวยาช่วยเหลือจากผลกระทบด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจด้วย โดยมีการนำเสนอกรณีศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยและอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอาคารสถานที่ทำงานในมหาวิทยาลัย อาทิ การเกิดอัคคีภัย ท่อประปาภายในอาคารและระบบการระบายอากาศเกิดการชำรุด เนื่องจากขาดการดูแลและใช้งานเป็นเวลานานในระหว่างที่มีการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย พร้อมด้วยมุมมองและวิธีการจัดการความปลอดภัยช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ในมิติของผู้ประกอบการและการเป็นพื้นที่สาธารณะ
ในช่วงท้ายมีการประกาศรางวัลการประกวดต่าง ๆ ได้แก่ โครงการประกวดคลิป Tik Tok หัวข้อ “ความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน” การประกวดสื่อประชาสัมพันธ์คลิปวิดีโอขนาดสั้น หัวข้อ “New Safety Lifestyle of The Next Gen : วิถีความปลอดภัยใหม่ในแบบ NextGen” การประกวด “Chula Safety Ambassador 2021” และโครงการประกวดส่วนงานและบุคลากรด้านความปลอดภัยโดดเด่น มีนิสิต บุคลากรจุฬาฯ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ผ่านระบบออนไลน์ Zoom และรับชมการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊ก SHECU
ตลอดการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัย Chula Safety 2021 มีกิจกรรมส่งเสริมความรู้ การอบรม สัมมนา และเวทีเสวนา โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมให้ความรู้ในหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม” การอบรม เรื่อง “การดูแลสุขภาพจิตกับการทำงาน-การเรียนออนไลน์” การอบรม เรื่อง “การป้องกันอัคคีภัย” และการสัมมนา เรื่อง “fake news ด้านความปลอดภัย” เป็นต้น ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรับชมกิจกรรมต่าง ๆย้อนหลังได้ที่เว็บไซต์ https://www.shecu.chula.ac.th/home/
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้