รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คว้าสามเหรียญทอง การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน “2021 Japan Design, Idea and Invention Expo” (JDIE 2021) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2564 ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
นวัตกรรมสามเหรียญทอง จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประกอบด้วย
นวัตกรรมนาโนเจลสูตรน้ำสำหรับทดแทนการอาบน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยงป่วย หลังทำวัคซีน หรือมีบาดแผลซึ่งห้ามโดนน้ำ (An Innovative Bath-substituting HydroNanogel for Ill, Vaccinated or Wounded Pet Animals)
ผลงานของ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา และคณะ ซึ่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในกรณีที่ต้องงดหรือหลีกเลี่ยงการอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เช่น สัตวเลี้ยงป่วย หลังการทำวัคซีน หรือสัตวเลี้ยงมีบาดแผล ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องดูแลสัตว์เลี้ยงในการรักษาความสะอาด กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ซึ่งห้ามโดนน้ำ ซึ่งมีโอกาสทำให้สัตว์เลี้ยงป่วยหนักกว่าเดิมได้ รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงที่มีบาดแผล ซึ่งการอาบน้ำอาจทำให้แผลเปียกและเกิดการติดเชื้อ อาจทำให้แผลลุกลาม ใช้เวลาในการรักษาแผลนานกว่าเดิม
รับชม VIDEO PRESENTATION ที่ https://www.youtube.com/watch?v=-vXKqSFFpy8
นวัตกรรม “สเปรย์สมุนไพรนาโนสูตรเย็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย” (An Innovative PhytoNano-MyoSpray: A Pain Relief Spray from Nanostructured Lipid Carriers carrying Herbal Extracts)
ผลงานของ น.ส.วราภรณ์ โชติสวัสดิ์ นางอิญญา บินซัน ผศ.สพ.ญ.ศริยา อัศวกาญจน์ และ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ประกอบด้วยสมุนไพรสำคัญสองชนิด คือน้ำมันระกำ และสารสปิแลนทอลจากผักคราดหัวแหวน ซึ่งมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยได้นำสมุนไพรทั้งสองชนิดมาปรับให้อยู่ในรูปอนุภาคนาโนเพื่อช่วยให้สมุนไพรสามารถซึมผ่านผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยาวนานขึ้น
รับชม VIDEO PRESENTATION ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=NtQQxln788w
นวัตกรรม “โบทิน่า แอคเมลลา นาโนเอนแคปซูเลท เฟเชียล สลีพพิ้ง มาส์ก” (Acmella NanoEncapsulated Particle Facial Sleeping Mask)
ผลงานของ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับบริษัท ทีเอส อินเตอร์เทรด จำกัด และหน่วยวิจัย ซึ่งเป็นการพัฒนานาโนเวชสำอางเพื่อการลดเลือนริ้วรอยแห่งวัยแบบ Sleeping Mask มีส่วนผสมหรือองค์ประกอบสำคัญคือ อนุภาคนาโนห่อหุ้มสารสกัด สปิแลนทอล (Spilanthol) จากผักคราดหัวแหวน (Acmella oleracea) พืชสมุนไพรท้องถิ่นของไทย ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่เหมือนกับโบท็อกซ์ แต่สารสกัดสปิแลนทอลมีจุดเด่นสำคัญคือ เป็นสารสกัดจากพืชสมุนไพร ที่มีความปลอดภัยสูง ซึมผ่านผิวหนังได้โดยไม่ต้องฉีด และราคาถูกกว่าการฉีดโบท็อกซ์
งาน “ใต้ร่มพระบารมี 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ กระทรวงวัฒนธรรมนำการแสดง ศิลปะ อาหาร จัดแสดงอย่างยิ่งใหญ่
จุฬาฯ จับมือพันธมิตร 6 ฝ่าย ร่วมลงนาม MOU “โครงการพัฒนาผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์” เดินหน้าสร้างผู้นำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
จุฬาฯ ตรวจสุขภาพแรงงานฟรี เนื่องในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2568 ที่สยามสแควร์
1 พ.ค. 68 เวลา 08.00 -20.00 น.
สยามสแควร์
“MDCU MedUMORE” โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Winner “THE Awards Asia 2025” ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์ความรู้ฮาลาลในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ. 1446
เชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับการเลือกตั้งเพิ่มเติม สมาชิกสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2568
23 - 28 เมษายน 2568
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้