รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
นวิน พรกุลวัฒน์ นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ภาษาฝรั่งเศส ในโครงการความเป็นเลิศทางภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษา จัดโดยภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในหัวข้อ “Comment pourrait-on faire face au cyberharcèlement ?” (เราจะจัดการกับ Cyberbullying ได้อย่างไร?) เพื่อสร้างความตระหนักถึงการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
นวินเผยถึงโจทย์ที่ได้รับในการแข่งขันครั้งนี้ว่า จะต้องอัดคลิปวิดีโอการกล่าวสุนทรพจน์เป็นภาษาฝรั่งเศส ในหัวข้อ “Cyberbullying” ความยาวไม่เกิน 3 นาที เนื่องจากมีการเตรียมตัวค่อนข้างจำกัดจึงต้องใช้เวลาที่มีให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด เริ่มจากการหาข้อมูลที่ทำให้เข้าใจกระบวนการกลั่นแกล้งรังแกบนโลกไซเบอร์ จากนั้นจึงร่างสตอรี่บอร์ดหรือสคริปต์ไว้คร่าวๆ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ
การเข้าใจที่ลึกซึ้งในเรื่องที่กล่าวสุนทรพจน์ มีความมั่นใจในการสื่อสารสู่ผู้ฟัง คือเทคนิคสำคัญที่ทำให้นวินพิชิตความสำเร็จในการแข่งขันครั้งนี้ โดยเนื้อหาที่นำเสนอแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นคือเรื่องของเหยื่อ ผู้กระทำ และการแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงและวิธีร่วมมือในการป้องกันการเกิดกลั่นแกล้งรังแกบนโลกไซเบอร์
นวินเป็นผู้สนใจเรียนภาษาฝรั่งเศสมาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา ภาษาฝรั่งเศสมีความไพเราะ สะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรมของประเทศฝรั่งเศสแม้จะเป็นภาษาที่เรียนยาก เนื่องจากมีความซับซ้อนในเรื่องของโครงสร้างที่แตกต่างจากภาษาไทยอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการฟังเพราะต้องจับใจความในทันที แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ ส่วนตัวแล้วทักษะที่ถนัดที่สุดคือการเขียนเพราะสามารถใช้ความคิด วางแผน ศึกษาความถูกต้องของโครงสร้างภาษาได้ง่ายกว่าทักษะอื่นๆ
นวินวาดฝันในอนาคตไว้ว่าอยากเป็นครูหรืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาษาฝรั่งเศส เพราะจะได้ใช้ความสามารถทางภาษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันมีงานสอนพิเศษภาษาฝรั่งเศสให้น้องๆ อยู่บ้าง
“อยากฝากถึงน้องๆ ที่สนใจเรียนภาษาฝรั่งเศส ต้องให้เวลากับการฝึกฝนทั้งการพูด อ่านและเขียนเป็นประจำสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เราเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด การได้เข้ามาเรียนในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้อย่างเต็มที่ มีอาจารย์ที่ให้ความรู้และคำแนะนำในเรื่องการเรียนเป็นอย่างดี ทำให้การเรียนภาษาฝรั่งเศสไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป” นวินกล่าวทิ้งท้าย
“Lorsque l’on comprend le cyber-harcèlement
Lorsque l’on est entourés des personnes qui vont soutenir
Lorsque les savoirs sur ce sujet circulent à travers les médias
On est tous prêts capable à le confronter et peuvent finalement rompre le cycle de cette violence.”
“เมื่อเราทุกคนมีความเข้าใจในเรื่องการกลั่นแกล้งกันผ่านโลกไซเบอร์
เมื่อเราทุกคนถูกห้อมล้อมไปด้วยผู้คนที่พร้อมจะช่วยเหลือ
เมื่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการกลั่นแกล้งกันผ่านโลกไซเบอร์ตีแผ่ออกมาผ่านสื่อ
เมื่อถึงเวลานั้นเราทุกคนจะพร้อมเผชิญหน้ากับมันและจะสามารถทำลายวงจรของความรุนแรงนี้ไปได้ในที่สุด”
ส่วนหนึ่งของคำกล่าวสุนทรพจน์ภาษาฝรั่งเศสของนวิน พรกุลวัฒน์ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้