ข่าวสารจุฬาฯ

การสัมมนาพิเศษ อาซาฮี ครั้งที่ 29

เมื่อวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2564 สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาพิเศษ ครั้งที่ 29 (The 29thSpecial CU-af Seminar 2021) ในหัวข้อเรื่อง “Deep Tech for Great Impact on Society”พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิกระจกอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น และพิธีมอบทุนผลงานวิจัยจาก the Asahi Glass Foundation ในรูปแบบออนไลน์ Zoom Conference

พิธีเปิดการสัมมนามี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงานทั้งในห้องประชุมและผู้ร่วมงานผ่าน Zoom Conference ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวรายงาน Mr. Takuya Shimamura ประธานมูลนิธิกระจกอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น กล่าวแสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักวิจัยในพิธีมอบทุนวิจัยประจำปี 2564 ซึ่งมีผู้ที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติโครงการวิจัย ดังนี้

  1. ดร.เพียว เมียะ ทู สถาบันเอเชียศึกษา
  2. ดร.ภัทริน ตั้งธนตระกูล คณะสหเวชศาสตร์
  3. ดร.วรพนธ์ ชัยกีรติศักดิ์ คณะวิทยาศาสตร์
  4. ดร.ณัฏฐ์ ทรงวรวิทย์ คณะวิทยาศาสตร์
  5. ดร.มนัญญา โอฆวิไล สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ
  6. ดร.ศรภัทร นิยมสินธุ์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
  7. ผศ.ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  8. ผศ.ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  9. ดร.จิตติ เกษมชัยนันท์ คณะวิทยาศาสตร์
  10. ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  11. ดร.มนัสวี สุทธิพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์
  12. ดร.ยศวดี ฮะวังจู สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ

ช่วงการบรรยายพิเศษ ได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาฯ บรรยายในหัวข้อเรื่อง “ChulaCov19 mRNA vaccine: from Bench to Clinic and Manufacturing” จากนั้นจึงแบ่งกลุ่มนำเสนอผลงานวิจัยโดยอาจารย์ที่ได้รับทุนวิจัยในปี 2563 จำนวน 15 ท่าน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 Health Science จำนวน 8 ท่าน ประกอบด้วย 1. ผศ.ดร.ปนัดดา เดชาดิลกภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ 2. ศ.ดร.ธนาภัทร ปาลกะ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ 3. รศ.ดร.นพ.อัษฎาศ์ ลีฬหวนิชกุล หน่วยภูมิคุ้มกันวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ 4. ศ.ดร.อุบลรัตน์ สิริภัทราวรรณ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ 5. รศ.ดร.ศุภอรรจ ศิริกันทรมาศ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ 6. รศ.ดร.ชุลี ยมภักดี ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ 7. ดร.จรัสรัก วิภาวกิจ หลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 8. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์
กลุ่มที่ 2 Science and Technology นำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วย 1. รศ.ดร.เกรียงไกร มณีอินทร์ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2. ศ.ดร.พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ 3. รศ.ดร.พิชชา จองวิวัฒสกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ 4. รศ.ดร.วิทิต ปานสุข ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ 5. ผศ.ดร.พรรณี ลีลาดี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ 6. ผศ.ดร.นำพล อินสิน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ 7. ดร.นิธิวัชร์ นวอัครฐานันท์ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ

(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.research.chula.ac.th/th/news/12977/

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า