รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น
จากการสัมมนางานวิจัย “Sasin Research Seminar Series” ซึ่งสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ดร. ยุพิน ภัทรพงศ์สันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด และ ดร. ภัทรวรรณ ประสานพานิช อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปฏิบัติการและเทคโนโลยี ได้พูดคุยถึงงานวิจัยเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่าแบบยั่งยืน ณ ศูนย์บูรณาการความเป็นเลิศโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งศึกษาวิจัยโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยพฤติกรรมและสารสนเทศในสังคมศาสตร์ (RU-BRI) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ ร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช สรุปได้ดังนี้
การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า ‘Value-based Healthcare’ เป็นรูปแบบการบริการทางการแพทย์ที่ผู้ให้บริการ ซึ่งรวมถึงแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาล มุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยในฐานะผู้รับบริการทางการแพทย์ได้รับบริการที่ดี โดยสร้างระบบบริการสุขภาพที่เอื้อให้เกิดคุณค่าสูงสุดในการรักษาพยาบาลต่อคนไข้ ความมุ่งหมายนี้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาโมเดล Sustainable Value-based Healthcare Delivery ณ ศูนย์บูรณาการความเป็นเลิศโรงพยาบาลศิริราช หรือ Siriraj Integrated Center of Excellence (SiCOE)
การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า ‘Value-based Healthcare’ เริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้ในระบบการบริการสุขภาพที่สิงคโปร์ ทั้งนี้นักวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์ด้านการบริการสุขภาพ ได้แก่ ‘Value-Based Healthcare Agenda’ ซึ่งเขียนโดย Prof. Michael E. Porter จาก Harvard Business School ในปี 2013 การจะสร้างระบบการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า ‘Value-based Healthcare’ ก่อนอื่นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของการบริการทางด้านสุขภาพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งเป็นที่มาของงานวิจัยเชิงปฏิบัติการของคณะวิจัยนี้ที่โรงพยาบาลศิริราช
นักวิจัยได้กล่าวถึงกลยุทธ์การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า อย่างแรกคือ การจัดระเบียบการดูแลเป็น Integrated Practice Units (IPUs) ซึ่งต้องเปลี่ยนจากการจัดตามความเฉพาะทางของโรคเป็นการจัดตามผลิตภัณฑ์ คือการบริการทางการแพทย์ อาทิ การเปลี่ยนข้อเข่า การรักษาโรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง การเปลี่ยนอวัยวะ เช่น ตับ ซึ่งจะนำไปสู่การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ ไม่ใช่จากหน่วยใดหน่วยหนึ่ง และเป็นการวาง Care Plan และ Service Flow ให้ความสำคัญต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการทั้งหมด อย่างที่สอง การวัดคุณภาพการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม outcome และ cost เพื่อให้ค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลนั้นไม่สูงเกินไป จำเป็นต้องวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย ค่าบริการ ค่าอุปกรณ์ ค่าจ้างบุคลากร เวลา อย่างที่สามคือ การสร้าง Integrate Care Delivery ในระบบบริการสุขภาพ และอย่างสุดท้ายคือการสร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้รองรับการให้บริการ ที่ต้องมีการจัดการข้อมูลที่เป็นระบบ ดึงข้อมูลมาใช้ในการให้บริการและการวิเคราะห์ได้ง่าย
ผศ.ดร.ยุพิน และ ดร. ภัทรวรรณ ร่วมกับทีมผู้บริหารโรงพยาบาลศิริราช ได้พัฒนาโมเดล Sustainable Value-based Healthcare Delivery ณ ศูนย์บูรณาการความเป็นเลิศโรงพยาบาลศิริราช (SiCOE) โดยมุ่งเน้นที่ประสบการณ์ของผู้ใช้บริการโดยมีการดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย สร้างความคุ้มค่าในระบบสุขภาพ และเชื่อมโยงกับความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ สร้างการวิจัย การศึกษา และการขยายตลาดการบริการทางการแพทย์ต่อไป สร้าง Patient Journey ที่สมบูรณ์ขึ้น
“Sasin Research Seminar Series” จัดขึ้นศุกร์เว้นศุกร์ เวลา 12.00 -13.00 น. ผ่านทาง Zoom ผู้สนใจเข้าร่วมฟังงานวิจัยต่างๆที่น่าสนใจ สามารถติดตามหัวข้อการสัมมนาและลงทะเบียนเข้าฟัง ได้ที่ https://bit.ly/2TlJEHI หรือ www.sasin.edu
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้