รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 กันยายน 2564
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (ฉบับที่ ๗)
——————————————
ตามที่มหาวิทยาลัยได้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราวทั้งที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตกรุงเทพมหานครออกไปจนถึงวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น
เนื่องจากปรากฏว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ค่อนข้างทรงตัวและมีแนวโน้มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น กรุงเทพมหานครจึงได้ออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ๔๑) ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดว่า ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภทสามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้ โดยให้ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบ ร่วมกับคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร พิจารณาความจำเป็นและการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดังนั้น ในช่วงเวลาระหว่างที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะได้ออกประกาศกำหนดในเรื่องดังกล่าวตามความในประกาศกรุงเทพมหานครต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดและลดโอกาสติดเชื้อโรค COVID-19 แก่นักเรียน นิสิตและบุคลากร และเพื่อให้การดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงเห็นสมควรให้ดำเนินการดังนี้
ข้อ ๑ ให้ขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการที่ตั้งทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตกรุงเทพมหานครออกไปตั้งแต่วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ จนถึงวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ข้อ ๒ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงานในช่วงดังกล่าวให้ดำเนินการตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ต่อไป
ข้อ ๓ บุคลากรหรือนิสิตที่ได้รับคำสั่งหรือได้รับอนุญาตเข้ามาในพื้นที่มหาวิทยาลัย หรือพักอาศัยในหอพักของมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับวัคซีนที่ราชการกำหนดหรือที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับรอง แล้วแต่กรณี โดยบุคลากรหรือนิสิตนั้นจะต้องได้รับวัคซีนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
ข้อ ๔ เนื่องจากขณะนี้โรค COVID-19 แพร่ระบาดอย่างรุนแรงและมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยมีความห่วงใยนักเรียน นิสิตและบุคลากรทุกคน จึงขอให้นักเรียน นิสิตและบุคลากรโปรดระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ หลีกเลี่ยงการเดินทางหรือออกจากที่พักโดยไม่จำเป็น และหากเริ่มมีอาการของโรคหรือสงสัยว่าจะติดโรค COVID-19 ขอให้รีบประสานงานมายังมหาวิทยาลัย เพื่อที่มหาวิทยาลัยจะได้ให้ความช่วยเหลือโดยเร็วต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงเป็นประการใด หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ออกประกาศตามความในประกาศกรุงเทพมหานครแล้ว มหาวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบโดยเร็วต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์)
อธิการบดี
จุฬาฯ จัดพิธีอธิการปติประทานการ เนื่องในโอกาสที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร เป็นอธิการบดีจุฬาฯ
นิสิตแพทย์จุฬาฯ ได้รับพระราชทานทุน “โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เปิดยุทธการดับเบาหวาน ชูแพลตฟอร์ม “หวานน้อย” ช่วยคนไทยรอดเบาหวาน
“CU Blood: Dare to Give กล้าที่จะให้” ได้รับบริจาคโลหิตกว่า 900 ถุง บรรเทาปัญหาวิกฤตเลือดขาดแคลน
Chula Digital War Room เครือข่ายจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ ศูนย์กลางให้ข้อมูลเตือนภัยและสนับสนุนการจัดการอุทกภัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
จุฬาฯ เปิดตัวหลักสูตร ZEN หลักสูตรอบรมที่ผสานหลักการปรัชญาแบบญี่ปุ่นกับแนวทางการตลาดสมัยใหม่
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้