ข่าวสารจุฬาฯ

โครงการสัตวแพทย์ จุฬาฯ เพื่อสวัสดิภาพสัตว์ Season 2

 “หลัก 5 ประการในการเลี้ยงและปฏิบัติต่อสัตว์ ตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) โดยสหภาพยุโรป (EU)  ได้แก่ การมีอิสระจากความหิว กระหาย ความไม่สบายกาย ความเจ็บปวดและโรคภัย ความกลัวและไม่พึงพอใจ และอิสระในการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ” หากเราปฎิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์แล้ว ช่วยให้สัตว์มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข”

ชมรมนิสิตสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการช่วยเหลือสัตว์จรจัด เพื่อสวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ปีที่ 2  เพื่อดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพของสุนัขและแมวในพื้นที่มหาวิทยาลัยให้ถูกต้องและเหมาะสม

อนันต์ สุนทรา นิสิตปี 4 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประธานชมรม สวัสดิภาพสัตว์ เล่าถึงปัญหาของสัตว์จรจัดที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือว่าจะก่อปัญหาด้านสาธารณสุข และความปลอดภัยแก่คนในชุมชน เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือหวาดกลัวเนื่องจาก พฤติกรรมที่ก้าวร้าว ก่อความรําคาญจากเสียง และความสกปรก เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุทางจราจร ที่สําคัญคือมีโอกาสแพร่โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้าได้อีกด้วย

โครงการ “สัตวแพทย์ จุฬาฯ เพื่อสวัสดิภาพสัตว์” จึงได้ดําเนินการจัดการปัญหาสุนัข และแมว พร้อมทั้งป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าซึ่งกําลังระบาดในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในปัจจุบัน และเป็นการควบคุมประชากรสุนัขที่อาศัยในพื้นที่มหาวิทยาลัย อีกทั้งยังช่วยดูแลสัตว์เบื้องต้น เช่น การถ่ายพยาธิ หยดยากำจัดเห็บหมัด ฉีดวัคซีนประจำปี รวมไปถึงดูแลสัตว์ป่วย ถ้ามีอาการหนักก็นำส่งโรงพยาบาล รวมทั้งมีกระบวนการหาบ้านให้สำหรับสัตว์ที่พอจะหาบ้านได้

อนันต์เผยถึง ระยะเวลาการปฏิบัติงาน โดยมีช่วงเวลาเตรียมงานระหว่างวันที่ 9  สิงหาคม  –  30  กันยายน 2564 และเวลาปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ 1  ตุลาคม  2564   –  28  เมษายน 2565 ที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์  คณะครุศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ อาคารสถาบัน 2 และอาคาร 3 รวมไปถึงบริเวณหอพักนิสิต สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ กรุงเทพมหานคร และชุมชนสามย่าน โดยได้รับการสนันสนุนจากฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ และ มูลนิธิ soidog  รวมไปถึงการได้รับความอนุเคราะห์จากผลิตภัณฑ์อาหารสุนัขและแมวเพื่อนำมาใช้ในโครงการ จากบริษัท เพอร์เฟคคอมพาเนียนกรุ๊ป จํากัด และบริษัทไทยอินาบะ ฟูดส์ จำกัด

“อยากฝากทุกคนมองสัตว์เลี้ยงและสัตว์จรจัดว่าเขามีชีวิต มีความรู้สึกเหมือนกันกับเรา ขอให้มีความเมตตากับสัตว์ การที่สัตว์มีสุขภาพดี เราก็จะมีความสุขและปลอดภัยจากโรคสัตว์สู่คนอีกด้วย” อนันต์ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook page : JohnJud


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า