รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 กันยายน 2564
ข่าวเด่น
โควิดชีวิตเปลี่ยน เรียนออนไลน์ Work From Home ดูเป็นเรื่องที่เหมือนจะดีที่ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเดินทาง แต่จริงๆ แล้วก็มีอันตรายหลายอย่างตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นกับทางสายตาที่เรียกว่า Computer Vision Syndrome รวมถึงในเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวันที่น้อยลง และโรคจากออฟฟิศซินโดรมที่เกิดการจากการนั่งทำงานกับอุปกรณ์ต่างๆ ในท่านั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
รศ.พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าศูนย์เลเซอร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือ CVS (Computer Vision Syndrome) คือ กลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย มีปัญหาทางตา คอ บ่า ไหล่ โดยเฉพาะการทำงานแบบ Work from Home ทำให้เรามีการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนมากจนเกินไป โดยอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม มักเกิดกับผู้ที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวต่อเนื่องนานเกินกว่า 2 ชั่วโมงติดต่อกัน
วิธีการสังเกตอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
– ตาแห้ง แสบและเคืองตา
– ปวดเมื่อยตา เหนื่อยตา ไม่ค่อยอยากลืมตา
– ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด โฟกัสได้ช้าลง
– เวลากระพริบตาอาจมีน้ำตาไหลออกมา
– ปวดบริเวณกระบอกตา รวมไปถึงปวดศีรษะ หลัง ไหล่ หรือปวดต้นคอ เป็นอาการที่เรียกว่า Office Syndrome
วิธีการช่วยลดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
– จัดคอมพิวเตอร์และแป้นพิมพ์ให้อยู่ในระดับที่พอดี
– ปรับระดับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมโดยให้จอคว่ำลงประมาณ 15 องศา
– ระยะห่างของคอมพิวเตอร์จนถึงระยะสายตาประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร
– ขนาดตัวหนังสือที่ใช้ต้องมีความสบายตา ไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป
– สีของตัวหนังสือต้องมีความแตกต่างกัน ไม่จ้าเกินไป
– ปรับความสว่างในห้องทำงาน และหน้าอุปกรณ์ที่ใช้งานให้เหมาะสม กะพริบตาบ่อย
– พักสายตาตามหลัก 20 : 20 : 20 คือ ทุก 20 นาที พักสายตาจากหน้าจอ และมองออกไปไกลระยะ 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาทีต่อครั้ง
– วางแก้วน้ำที่ใส่น้ำ 1 แก้วไว้ข้างๆ เพื่อให้น้ำระเหยเพิ่มความชุ่มชื้นมากขึ้น
รศ.พญ.งามจิตต์ กล่าวต่อไปว่า ในยุคที่เด็กๆ ต้องเรียนออนไลน์ โดยใช้อุปกรณ์หลากหลายซึ่งมีทั้ง คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ส่งผลให้เกิดอุบัติการณ์ตาแห้งในเด็กสูงขึ้นถึง 50 %
เมื่อเด็กใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการเรียนต่อเนื่องกันกันเป็นเวลานาน รวมถึงการเล่นเกม ก็จะทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดอาการเกร็ง ทำให้เด็กต้องบีบตา เค้นตา หรือกระพริบตาแน่นๆ ทำให้ตาแกว่งไปมาซึ่งเป็นความผิดปกติ ร่วมกับอาการตาแห้ง ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรเอาใจใส่ให้เด็กๆ หยุดพักการใช้อุปกรณ์เหล่านี้บ้าง รวมถึงดูแลในเรื่องระยะห่างระหว่างสายตากับอุปกรณ์ที่เด็กใช้งานด้วย
นอกจากนี้ รศ.พญ.งามจิตต์ ยังได้ฝากถึงการดูแลป้องกันสุขภาพดวงตาของผู้สูงอายุที่เกิดจากต้อซึ่งมีอยู่ 4 ประเภท คือ
– ต้อลม ต้อเนื้อ เกิดจากความเสื่อมของเยื่อบุตา ที่ผ่านการโดนฝุ่น ลม แสงยูวี ดูแลรักษาด้วยการใส่แว่น หยอดน้ำตาเทียม หรือหยอดยาบางชนิดได้ ต้อชนิดนี้ไม่เกิดอันตราย
– ต้อกระจก เกิดจากแก้วตาขุ่นมัวจากการใช้งานมานาน ทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด รักษาได้ด้วยการลอกออกแล้วใส่แก้วตาเทียมใหม่เพื่อทำให้กลับมามองเห็นได้ชัดเหมือนเดิม
– ต้อหิน พบได้ในผู้ทีมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ต้องมาทำการตรวจตัดกรองว่าเป็นต้อหินชนิดใดเพื่อหาวิธีการในการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดโครงการ “ร่วมใจทำความดี บริจาคโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้