รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 กันยายน 2564
ภาพข่าว
ผศ.ดร.ชฎิล กุลสิงห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผู้พัฒนาเครื่องตรวจเชื้อโควิดจากกลิ่นเหงื่อ พร้อมด้วย น.ส.อิศญา ทวีแสงสกุลไทย นิสิตปริญญาโทภาควิชาเคมี ได้ลงพื้นที่นำเครื่องตรวจเชื้อโควิด-19 จากกลิ่นเหงื่อไปให้บริการตรวจคัดกรองโควิด-19 แก่พ่อค้าแม่ค้าและประชาชนบริเวณตลาดเทศบาลนครนนทบุรี เมื่อวันพุธที่ 15 กันยายน 2564 เพื่อตรวจคัดกรองโควิด-19 เบื้องต้น ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนที่ให้ความสนใจเข้ารับการตรวจโควิดด้วยเครื่องดังกล่าว การลงพื้นที่ปฏิบัติงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ผศ.ดร.ชฎิล กุลสิงห์ เปิดเผยว่า ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 การลงพื้นที่จริงเพื่อนำเครื่องมือตรวจคัดกรองโควิด-19 จากกลิ่นเหงื่อไปให้บริการตรวจคัดกรองในครั้งนี้เป็นการเพิ่มทางเลือกและโอกาสแก่ประชาชนให้ได้รับการตรวจเชื้อโควิด-19 ขั้นตอนการตรวจเริ่มจากการเก็บตัวอย่างสำลีที่ดูดซับเหงื่อบริเวณรักแร้เป็นเวลา 15 นาที นำมาบรรจุในขวดแก้ว และฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV จากนั้นนำมาตรวจวัดด้วยเครื่อง ซึ่งสามารถทราบผลการตรวจภายในเวลาที่รวดเร็ว ในอนาคตจะมีการขยายผลการผลิตเครื่องตรวจโควิด-19 เพิ่มขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งจะมีการพัฒนาห้องปฏิบัติการ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการตรวจแต่ละครั้งถูกลง รวมทั้งจะมีการลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงเพิ่มขึ้น ตลอดจนมีความร่วมมือกับบริษัทและโรงงานต่างๆ ที่ให้ความสนใจติดต่อขอนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นนี้ไปให้บริการตรวจเชื้อโควิด-19 ในโรงงานอีกด้วย
การลงพื้นที่ในครั้งนี้ รศ.ดร.นราพร สมบูรณ์นะ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำวิธีตรวจโควิด-19 แบบ RT-LAMP ไปตรวจควบคู่กับการใช้เครื่องตรวจเชื้อโควิดจากกลิ่นเหงื่อ ซึ่งการตรวจด้วยเทคนิค RT-LAMP เป็นวิธีตรวจสารพันธุกรรม RNA ของไวรัสโดยตรง โดยตรวจจากน้ำลาย มีระดับความแม่นยำ 98% และคุณภาพเทียบเท่ากับการวินิจฉัยโรค สามารถทราบผลการตรวจภายในเวลา 1 ชั่วโมง
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้