ข่าวสารจุฬาฯ

ชมรมต่อต้านโรคพิษสุนัขบ้า คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่นิสิต และให้ความรู้แก่ประชาชนทาง Facebook

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้วันที่ 28 กันยายนของทุกปีเป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies Day) โดยนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดกิจกรรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเนื่องในวันดังกล่าวเป็นประจำทุกปี

ภัคพิชา พนิตโกศล (น้องยีนส์) นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประธานชมรมต่อต้านโรคพิษสุนัขบ้า เล่าถึงปัญหาของโรคพิษสุนัขบ้าว่าเป็นโรคที่มีการรายงานการเกิดโรคในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ สาเหตุหลักของโรคพิษสุนัขบ้ามาจากสุนัขและแมวที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ชมรมฯ จึงจัดโครงการ “ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า” ภายใต้การดูแลของ ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมฯ เพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าและเพิ่มความปลอดภัยของนิสิตซึ่งปฏิบัติงานใกล้ชิดกับสุนัขและแมว รวมทั้งให้บริการฉีดวัคซีนแก่นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อให้นิสิตได้รับการฝึกฝนและเพิ่มประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพสัตวแพทย์  ในการทำหน้าที่เป็นจิตอาสาช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนที่เข้าไปฉีดวัคซีน

ภัคพิชา พนิตโกศล (น้องยีนส์)

น้องยีนส์เผยว่า ที่ผ่านมานิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดค่ายรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สุนัขและแมวในเขตชุมชนต่างๆ ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง โดยตั้งเป้าหมายการฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวปีละ 2,000-3,000 ตัว กิจกรรมแต่ละครั้งใช้ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ในปีนี้ชมรมฯ จะจัดค่ายรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ระหว่างวันที่ 11 – 13 กุมภาพันธ์ และ 25 – 27 มีนาคม 2565 

ส่วนการให้บริการฉีดวัคซีนในชุมชนต่างๆ นั้นเนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้โครงการเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่นิสิตสัตว์แพทย์และประชาชน ในเรื่องการดูแล ป้องกัน รวมถึงการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ทางเฟสบุ๊กเพจ CURabies club

ในปีนี้ โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้นิสิตสัตวแพทย์ จะดำเนินการฉีดวัคซีนให้นิสิตจำนวน 530 คน ระหว่างวันที่ 10-14 มกราคม 2565 เนื่องจากนิสิตสัตวแพทย์เป็นผู้มีความเสี่ยงสูงในการสัมผัสกับโรคพิษสุนัขบ้า โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่สถานเสาวภาเข้ามาฉีดวัคซีนในครั้งนี้ เพื่อสร้างความพร้อมให้นิสิตในการทำกิจกรรมและออกไปรับใช้สังคมได้อย่างปลอดภัย

“โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต ส่วนมากจะเกิดขึ้นในสุนัขและแมวที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ดังนั้น ประชาชนควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ถูกสัตว์กัดข่วน หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ไม่ทราบประวัติ และที่สำคัญคือการนำสุนัขและแมวที่เลี้ยงไว้ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามกำหนด เป็นประจำทุกปี เป็นการรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยง ตนเอง และสังคม” น้องยีนกล่าว ทางชมรมฯ ได้ให้คำแนะนำเมื่อถูกสุนัขหรือแมวกัด

ด้วยหลักการ “ล้างแผล ใส่ยา ขังหมา หาหมอ”  โดยรีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่เพื่อขจัดน้ำลายที่อาจมีเชื้อปนมา เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าและวัคซีนป้องกันบาดทะยักให้เร็วที่สุด กักบริเวณสัตว์ไว้เพื่อเฝ้าดูอาการประมาณ 2 สัปดาห์ หากสัตว์มีอาการผิดปกติหรือ เสียชีวิตให้รีบแจ้งแพทย์ผู้รักษา 
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าได้ที่ Facebook page : วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก – World Rabies Day Thailand

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า