รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 ตุลาคม 2564
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือกับ สวทช. ในการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และโปรแกรม CopyCatch โดยการเชื่อมโยงฐานข้อมูลตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม เพื่อยกระดับการตรวจสอบและป้องกันการลอกเลียนงานวรรณกรรมของประเทศ
เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม (โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และโปรแกรม CopyCatch)”
รศ.ดร.ธรรมนูญ หนูจักร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และอนุญาตให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจใช้งานเพื่อการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมโดยไม่คิดใช้จ่าย ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ทำความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาฯ แล้วกว่า 150 แห่ง ซึ่งฐานข้อมูลอักขราวิสุทธิ์จะตรวจสอบข้อมูลวิทยานิพนธ์ วารสาร บทความ การลงนามความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้นับเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่พัฒนาโปรแกรมการตรวจสอบงานวรรณกรรมเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างเข้มแข็งทางวิชาการและการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า สวทช. เห็นความสำคัญในเรื่องส่งเสริมเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้เกี่ยวกับการลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism) ประเทศไทยมีโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งถือเป็นโปรแกรมหลักที่ใช้ในการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมและพัฒนามาเป็นเวลานาน สำหรับโปรแกรม CopyCatch ของ สวทช. ก็ได้พัฒนามาในเวลาใกล้เคียงกัน ดังนั้นความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ทำให้การเชื่อมโยงฐานข้อมูลของทั้งสองโปรแกรมให้สามารถสื่อสารกันได้เพื่อการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรม นับเป็นนิมิตหมายที่ดียิ่ง เป็นความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอีกขั้น และจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้มีการความเชื่อมโยงฐานข้อมูลอีกหลาย ๆ ฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการใช้งานมากยิ่งขึ้น
จุฬาฯ เจ้าภาพการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568
จุฬาฯ จัดงานเลี้ยงรับรองผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการประชุมสามัญ ทปอ. ครั้งที่ 1/2568
อบรมเชิงปฏิบัติการ “S.M.A.R.T Communication: พัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างผลลัพธ์และบรรยากาศที่ดี”
ขอเชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาคณาจารย์ จุฬาฯ พ.ศ. 2568
3-10 มี.ค. 2568
ขอเชิญร่วมงาน “วันอ้วนโลก“ World Obesity Day 2025 “อ้วนแล้วเปลี่ยน… เริ่มวันนี้ เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” 1 มีนาคม 2568 ณ ชั้น 9 อาคาร SiamScape
1 มีนาคม 2568 เวลา 09.30-15.00 น. ชั้น 9 อาคาร SiamScape
จุฬาฯ ร่วมเปิดงาน “เทศกาลบางแสนเพลิน” กิจกรรมสร้างสรรค์จากงานวิจัยสู่ชุมชน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้