ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ หารือกรอบความร่วมมือกับคุณบัณฑูร ล่ำซำ และสถาบัน เค อะโกร-อินโนเวท

เมื่อวันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564  ณ ห้องประชุม 1002 ชั้น 10 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมหารือกรอบความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับคุณบัณฑูร ล่ำซำ และสถาบัน เค อะโกร-อินโนเวท  ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการผลิตวัตถุดิบทางยาจากสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐานสูง เกษตรกรท้องถิ่นได้รับประโยชน์สูงสุด ตอบสนองความจำเป็นด้านสาธารณสุขและความต้องการของสังคม โดยมี ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน จากนั้นเป็นการฉายวีดิทัศน์แนะนำศูนย์พัฒนากระบวนการผลิตเภสัชภัณฑ์และสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ณ พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี       

            ในโอกาสนี้ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงานและบรรยายพิเศษ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล  นำเสนอความก้าวหน้าและความสำเร็จในการดำเนินงานด้านนวัตกรรมของจุฬาฯ และโครงการเมืองนวัตกรรมแห่งแก่งคอย จากนั้น คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย บรรยายพิเศษเรื่อง “น่านแซนด์บอกซ์”  หลังจากจบการบรรยาย เป็นพิธีมอบของ    ที่ระลึกและถ่ายภาพร่วมกัน

            ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งเน้นการเป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม และเป็นแหล่งอ้างอิงทางยา ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากสมุนไพรให้แก่นิสิต ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป จุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ปี 2555 มอบหมายให้คณะฯ จัดตั้งศูนย์พัฒนากระบวนการผลิตเภสัชภัณฑ์และสมุนไพร ณ พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองนโยบายแห่งชาติด้านยาที่มุ่งเน้นวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีความต้องการสารสกัดสมุนไพรที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่มีมาตรฐานสูงและมีคุณภาพคงที่ในปริมาณที่มากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตยาในหมวดยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์คุณภาพจากสมุนไพร ศูนย์พัฒนากระบวนการผลิตเภสัชภัณฑ์และสมุนไพรมุ่งเน้นการต่อยอดและบูรณาการผลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะ เชื่อมโยงกับศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งจุฬาฯ พัฒนากระบวนการผลิตสารสกัดสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อการพึ่งพาตนเองด้านวัตถุดิบทางยาของประเทศ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยเชื่อมโยงกับท้องถิ่นในการคัดเลือกพืชและการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชที่มีศักยภาพในการเป็นวัตถุดิบต้นน้ำทางยา ลดการนำเข้าสมุนไพรจากต่างประเทศ รองรับโอกาสการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตยาและสมุนไพรของประเทศในระยะยาว        

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า