รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 ตุลาคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ทีมนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันว่าความศาลจำลอง (Moot Court) และบทบาทสมมติ (Role Play) ในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ประจำปี 2021 ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในรอบ Asia Pacific และ Jean-Pict Competition ต่อไป
ทีมนิสิตที่ได้รางวัลชนะเลิศ ประกอบด้วย นางสาวธัญลักษณ์ ประสมทอง นางสาวรินรดา สากิยลักษณ์ นายอันดามัน สายสีทองนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากนี้นิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภท Role Play รางวัลรองชนะเลิศ Best Mooter รางวัลที่ 2 และรางวัลที่ 3 Prosecution Memorial Defence Memorial อีกด้วย
ธัญลักษณ์ ประสมทอง (น้องปาร์ตี้) นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ตัวแทนทีมนิสิตที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้รับรางวัลพิเศษ Best Mooter จากการแข่งขันครั้งนี้ เปิดเผยว่า การแข่งขันว่าความศาลจำลอง และบทบาทสมมติในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ประจำปี 2021 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 – 19 และ 25 -26 กันยายน 2564 เพื่อคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันว่าความศาลจำลองในระดับภูมิภาค และแข่งขันรายการบทบาทสมมติในระดับนานาชาติ ซึ่งในปีนี้จะจัดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโก
น้องปาร์ตีเล่าถึงการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ว่า “ทางคณะจะมีชมรม IMAC (International Mooting Association of Chulalongkorn University) ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและช่วยเตรียมความพร้อมให้นิสิตเพื่อเข้าร่วมแข่งขันว่าความศาลจำลอง โดยมีรุ่นพี่ที่เคยแข่งขันรายการนี้เมื่อปีก่อนๆ มาให้คำแนะนำและช่วยเป็นโค้ชให้”
การแข่งขันว่าความศาลจำลอง (Moot Court) ในรอบแรกหรือรอบ Preliminary Round เป็นการคัดเลือก 10 ทีมสุดท้าย โดยผู้เข้าแข่งขันต้องทำแบบทดสอบจากกาชาดระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย (ICRC) จากนั้นจะมีโจทย์สำหรับการแข่งขันว่าความศาลจำลอง ผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องเขียนคำฟ้องทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย และต้องว่าความกับศาล โดยจะมีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่เป็นศาลคอยถามคำถามทางกฎหมายระหว่างที่ผู้เข้าแข่งขันว่าความ เมื่อผ่านคัดเลือกในรอบแรกแล้ว จะมีการคัดเลือก 4 ทีม เพื่อเข้ารอบ Semifinal และคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 2 อันดับแรกเพื่อแข่งขันรอบ Championship ต่อไป
“ส่วนการแข่งขันบทบาทสมมติ (Role Play) จะไม่มีโจทย์มาให้ล่วงหน้าเหมือนการแข่งขันว่าความศาลจำลอง แต่จะให้เวลาประมาณ 15 นาทีเพื่ออ่านโจทย์ และตีความบทบาทสมมุติที่ได้รับว่าเราอยู่ในสถานการณ์ไหน เราก็จะต้องเป็นผู้เจรจาในสถานการณ์นั้นๆ” น้องปาร์ตี้กล่าว สำหรับความท้าทายในการแข่งขันในครั้งนี้เป็นเรื่องของเวลาในการแข่งขันที่ใกล้กับช่วงสอบกลางภาค “วันที่แข่งเสร็จ วันตอมาก็เป็นวันสอบกลางภาคเลย ซึ่งปี 3 เป็นปีที่ค่อนข้างหนัก ต้องอ่านหนังสือเยอะมากๆ และเพื่อนในทีมทุกคนอยู่ชั้นปีเดียวกันทั้งหมด จึงต้องแบ่งเวลาให้ดีมากๆ” น้องปาร์ตี้ กล่าว
สำหรับประสบการณ์และความรู้จากการเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ ทำให้น้องปาร์ตี้ได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์การว่าความจริง เข้าใจการใช้กฎหมายในสถานการณ์จริงมากขึ้น การแข่งขันในครั้งนี้ทำให้ได้นำความรู้มาใช้จริงนอกเหนือจากแค่อ่านในหนังสือ เช่น การอธิบายกฎหมายให้กับผู้ลีภัย ทหาร ตำรวจ ซึ่งต้องอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายที่สุด
น้องปาร์ตี้เผยถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า เกิดจากทีมเวิร์คที่ดี เพื่อนในทีมทุกคนทุ่มเทให้กับการแข่งขันเต็มที่ โดยค้นคว้าหาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันและฝึกซ้อมด้วยกันอยู่เสมอ สำหรับการแข่งขันในรอบต่อไป น้องปาร์ตี้และเพื่อนๆ ก็ได้เตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไปแข่งขันในระดับเอเชีย
“ที่ผ่านมาเป็นการแข่งขันในประเทศ เราได้ฝึกซ้อมกับรุ่นพี่ แต่เมื่อได้ไปแข่งขันในเวทีใหญ่ขึ้นระดับเอเชีย เราต้องซ้อมหนักขึ้น พยายามหาคนที่มาช่วยโค้ชให้หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ในคณะ หรือจากสถาบันอื่นๆ เนื่องจากเป็นการแข่งขันที่จัดแบบออนไลน์จึงต้องเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ อุปกรณ์ กล้อง และสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้พร้อมด้วย”
“ฝากถึงน้องๆ ที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขันในปีหน้า ไม่จำเป็นต้องเป็นนิสิตนักศึกษาด้านกฎหมายก็สามารถสมัครได้ ในบางปีมีนักศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์มาสมัคร เพียงแค่ใช้ทักษะทางกฎหมายก็สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ สำหรับผู้ที่สนใจกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ หรือผู้ที่อยากมาลองเขียนคำฟ้อง การว่าความ ควรที่จะมาสมัครรายการนี้เพราะจะทำให้เราได้เพิ่มทักษะ ความสามารถ และได้ประสบการณ์ที่ดีจากการแข่งขัน” น้องปาร์ตี้ฝากเชิญชวน
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้