งานประกาศผลโครงการประกวดออกแบบ บ้านประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ

กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ จัดงานประกาศผลผู้ชนะเลิศระดับประเทศ “โครงการประกวดออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ (Young Architect ECO Home Contest)” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน2564 ณ โถงกิจกรรม อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ โดยมี ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นประธานในงาน ดร.ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ กล่าวรายงานถึงรายละเอียดของโครงการ และ ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ ประกาศผลรางวัล ในการนี้ ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน มอบเงินรางวัลและถ้วยรางวัลแก่ ผู้ชนะเลิศระดับประเทศ ประเภทบ้านประหยัดพลังงาน พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตร.ม. และ 300 ตร.ม. ดังนี้
– ประเภทบ้านประหยัดพลังงาน พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตร.ม.
- รางวัลที่ 1 นายวโรดม วงศ์สาย นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ จากผลงาน “Sustainable House”
- รางวัลที่ 2 นายเกียรติชัย สุวรรณชาตรี นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา จากผลงาน “เรินมงคลสูตร”
- รางวัลที่ 3 นายวรุตม์ พฤติธรรมกูล นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จากผลงาน “เฮือนเฮ็ดดีอยู่ดี”
– ประเภทบ้านประหยัดพลังงาน พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 300 ตร.ม.
- รางวัลที่ 1 นายธัชธรรม สีมาเอกรัตน์ นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จากผลงาน “Rampathouse”
- รางวัลที่ 2 น.ส.ลภัสรฎา ปั้นดี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากผลงาน “Eco House”
- รางวัลที่ 3 น.ส.เจียระไน เจียมศิวานนท์ นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จากผลงาน “Breathing House”
โครงการประกวดออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ เป็นโครงการที่สำนักงาน กกพ. มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ ดำเนินโครงการ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจ และสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปใช้พลังงานสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน (Clean Energy for Life) ตลอดระยะเวลาของโครงการมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 517 ผลงาน แบ่งเป็นแบบบ้านประหยัดพลังงาน ประเภทไม่เกิน 150 ตร.ม. จำนวน 248 ผลงาน และประเภทไม่เกิน 300 ตร.ม. จำนวน 269 ผลงาน สำหรับแบบบ้านที่ชนะการประกวดระดับประเทศจะถูกนำไปพัฒนาเป็นแบบก่อสร้างมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถดาวน์โหลดไปใช้ก่อสร้างได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
















จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย