ข่าวสารจุฬาฯ

เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อม ในการกลับเข้าเรียนและทำงานให้ปลอดโควิด

หลังจากสถานการณ์โควิดในประเทศไทยเริ่มคลี่คลาย และมีการเปิดประเทศรับชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวตั้งแต่ 1 พฤศจิกายนเป็นต้นมา โดยมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานศึกษาทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเริ่มเปิดทำการ การเตรียมพร้อมในการรับมือและปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง       

ผศ.ดร.เขมาภรณ์ บุญบำรุง

ผศ.ดร.เขมาภรณ์ บุญบำรุง คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ว่าส่งผลให้เราต้องทำงาน Work from Home  นักเรียน นิสิตนักศึกษาต้องเรียนออนไลน์ การดำเนินกิจกรรมทางสังคมหยุดชะงัก แม้ว่าจำนวนผู้ได้รับวัคซีนในประเทศจะมีสัดส่วนที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดก็ยังคงมีอยู่  ดังนั้นเมื่อโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเปิดสถานที่ทำการ  การปฏิบัติตนเพื่อลดการแพร่กระจายของโรคด้วยการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรละเลย ไม่ว่าจะเป็นการออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น เว้นระยะห่าง 1 – 2 เมตร หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด หมั่นล้างมือบ่อยๆ ที่สำคัญต้องสวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ โดยเลือกหน้ากากให้เหมาะสมพอดีกับใบหน้า เพราะการจับขยับหน้ากากอยู่ตลอดเวลาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ มาตรการเหล่านี้ยังต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามตลอดเวลา

การจะเปิดสถานที่ทำงาน หรือห้างร้าน ธุรกิจต่างๆ ควรปฏิบัติตามมาตรการที่เรียกว่า “องค์กรปลอดโควิด” หรือ COVID- Free Setting ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

1. ด้านสิ่งแวดล้อม มีการจัดการระบายอากาศที่ถูกสุขอนามัย สะอาด ปลอดภัย เว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม  

2. การดูแลพนักงาน ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการต้องฉีดวัคซีนแล้ว หรือมีการเตรียมอุปกรณ์ตรวจการติดเชื้อโควิด “Antigen Test  Kit” (ATK) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้มาใช้บริการ

3. ผู้มาใช้บริการ ต้องปลอดโควิดด้วยเช่นเดียวกัน โดยนำ “วัคซีนพาสปอร์ต” มาใช้เพื่อแสดงว่าได้รับการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว  ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนก็ต้องมีการยืนยันว่าปลอดเชื้อ   โควิดจากผลการตรวจ ATK ที่เป็นลบ การตรวจสอบผู้ที่มาใช้บริการควรมีความเข้มข้น โดยปรับมาตรการให้เหมาะสม ไม่ทำให้รู้สึกว่าตึงเครียดมากเกินไป

“การเปิดประเทศ รวมถึงการเปิดสถานที่ทำการต่างๆ  เพื่อที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติ เป็นสิ่งที่ทุกคนรอคอย เพราะที่ผ่านมาการเรียนออนไลน์ของทั้งเด็กเล็กและเด็กโตไม่ตอบโจทย์ต่อการเรียนเท่าที่ควร อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเครียดและความกดดัน ส่วนผู้ที่ทำงาน Work from Home ก็มีความเครียดเช่นกัน รวมถึงประสิทธิการทำงานที่ลดลง อย่างไรก็ตาม การเปิดสถานที่ต่างๆ ต้องแน่ใจว่าสถานที่นั้นจะไม่ก่อให้เกิด Superspreader หรือเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ ดังนั้นก่อนที่จะทำการเปิดสถานที่ต่างๆ จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องระบบระบายอากาศเป็นสิ่งแรก ซึ่งช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้เป็นอย่างดี”  ผศ.ดร.เขมาภรณ์ ให้คำแนะนำ

นอกจากนี้การยอมรับวิถี New Normal แบบรักษาสมดุลเพื่อการใช้ชีวิตในการสถานที่ต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องตระหนักและให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง ดังนี้

– สถานศึกษา ต้องมีการจัดเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อย่างเข้มงวด ใส่หน้ากากอนามัย  หมั่นล้างมือบ่อย ๆ จะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 รวมไปถึงเชื้อโรคอื่นๆ อีกด้วย ยิ่งในสถานศึกษาที่มีเด็กเล็กก็ยิ่งต้องเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น   

– สถานที่ทำงาน ควรเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องระยะห่างของการนั่งทำงาน ควรมี partition กั้นระหว่างการทำงาน รวมถึงเรื่องการกินอาหารร่วมกันก็เป็นจุดของการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ ดังนั้นจึงควรต่างคนต่างทานอาหาร หลีกเลี่ยงการคุยกันระหว่างรับประทานอาหาร  การใช้พื้นที่สัมผัสร่วม เช่น บานประตู การใช้ลิฟท์ ก็ต้องเพิ่มความเข้มงวดระมัดระวังในการจับสัมผัสซึ่งอาจมีการปนเปื้อนเชื้อได้

– การเดินทางด้วยระบบสาธารณะ  เริ่มกลับมามีการเดินทางกันมากขึ้น การเว้นระยะห่างเป็นไปได้ยาก สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือการสวมหน้ากากที่เหมาะสมพอดีกับใบหน้า เมื่อต้องมีการจับสัมผัสราวประตู ที่จับราวโหน ต้องทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์  เพราะเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด แต่ต้องระมัดระวังด้วยว่าแอลกอฮอล์ที่พกติดตัวซึ่งมีความเข้มข้น 70 % เมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน ความเข้มข้นอาจลดลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค

“การเตรียมพร้อมรับมือการเปิดสถานที่เรียนและที่ทำงาน จะต้องเพิ่มความระมัดระวังตนเองด้วยการดูแลสุขภาพให้ดี ถึงแม้ว่าเราจะได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ แต่การติดเชื้อก็ยังเกิดขึ้นได้ อยากให้ทุกคนร่วมด้วยช่วยกันในการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ด้วยกันอย่างปลอดภัย” ผศ.ดร.เขมาภรณ์ กล่าวในที่สุด

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า