ข่าวสารจุฬาฯ

“ทีม See U บางลำภูล่าง” ศศินทร์ จุฬาฯ ร่วมแข่งขัน “U2T National Hackathon” 15 – 19 พฤศจิกายนนี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ทีม See U บางลำภูล่าง” จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาฯ  ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมจัดแสดงผลงานและร่วมการแข่งขันแฮกกาธอนระดับประเทศ “U2T National Hackathon” ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 15 – 19 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งมีทีมต่างๆ รวมทั้งสิ้น 40 ทีมทั่วประเทศร่วมนำเสนอผลงาน  โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานของทั้ง 40 ทีมระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน 2564 การนำเสนอผลงานของทีมชนะเลิศและพิธีมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้

            “ทีม See U บางลำภูล่าง” สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาฯ  ได้จัดทำโครงการ U2T บางลำภูล่าง คลองสาน กรุงเทพมหานคร (Bang Lamphu Lang Creative District) : ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 5 ทีมสุดยอดภาคกลาง ในโครงการ U2T Hackathon 2021 ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายภาคกลาง ได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป         

         โครงการ U2T บางลำภูล่าง คลองสาน กรุงเทพมหานคร มี ผศ.ดร.ยุพิน ภัทรพงศ์สันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ เป็นประธานโครงการฯ  ที่มาของโครงการนี้เนื่องจากแขวงบางลำพูล่าง เขตคลองสานเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “กระตั้วแทงเสือ” ซึ่งเป็นของที่ระลึกจากคนในชุมชนนี้ รวมถึงอาหารโบราณหาทานยาก ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19  อาจทำให้มรดกทางวัฒนธรรมของคนในชุมชนนี้อาจสูญหายไป  

            ผลงานของโครงการเป็นการจัดทำแผนการท่องเที่ยว เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพของชุมชน จัดกิจกรรมการประกวด Street Art และของที่ระลึกกระตั้วแทงเสือซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของธนบุรี เพื่อประชาสัมพันธ์ช่วยผู้ประกอบการ และอบรมเตรียมความพร้อมให้กับชุมชน กิจกรรมของโครงการสามารถเป็นต้นแบบนวัตกรรม นำไปขยายผลและปรับใช้กับชุมชนเมืองหรือพื้นที่อื่น ๆ ในอนาคต

แนวคิดของโครงการ U2T บางลำภูล่าง คลองสาน กรุงเทพมหานคร

• Creative Economy & Tourism ใช้หลักเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อความอยู่รอดของชุมชนและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

• Arts & Culture + Science, Technology & Innovation รวมศาสตร์และศิลป์ในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ ในพื้นที่แขวงบางลำภูล่าง แหล่งชุมชนเมืองกลางกรุงเทพฯ ซึ่งมีเรื่องราวและต้นทุนทางวัฒนธรรม ทั้งอาหาร ศิลปะ และสถาปัตยกรรม เข้ากับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลง

• People ชุมชนและคนในพื้นที่เป็นหัวใจของการพัฒนา มีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของในผลงาน การแก้ไขและพัฒนาล้วนตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของพื้นที่เป็นสำคัญ สร้างความเข้มแข็งพร้อมสู้วิกฤติ COVID-19 และปรับตัวสู่ New Normal 

• Quadruple Helix การสนับสนุนและร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของโครงการ U2T สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ฯ เครือข่ายกระทรวงอุดมศึกษาแม่ข่ายภาคกลาง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และหน่วยงานต่างๆ  ภาคส่วนธุรกิจและเอกชนในพื้นที่ สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร รวมทั้งยังมีส่วนร่วมพัฒนาของเยาวชนไทยและต่างชาติ เช่น Youth Startup ที่สนับสนุน SMEs การชุบชีวิตศิลปะการแสดงกระตั้วแทงเสือ การประกวด Street Art และปรับทัศนียภาพ

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า