รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 พฤศจิกายน 2564
ภาพข่าว
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทรและท้องทะเล รวมถึงความท้าทายในการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกมิติด้านการพัฒนา ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของการป้องกันและลดมลพิษทางทะเล เพื่อรักษาทรัพยากรทางทะเลและเป็นการสร้างความยั่งยืนของท้องทะเลให้คงอยู่ต่อไปในอนาคต จึงได้จัดการเสวนาในซีรีส์ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 ชีวิตในน้ำ (SDG 14 Life Below Water) “การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom meeting
โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย นิสิตนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศร่วมการเสวนา ในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ
• ขยะในทะเลและไมโครพลาสติก : เทคนิคงานวิจัยในปัจจุบัน
• ประเทศไทยกับการฟื้นฟูปะการังในอนาคต
• การฟื้นฟูแนวปะการังในสถานการณ์โลกปัจจุบันที่เปลี่ยนไป
• วิทยาศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรอย่างยั่งยืน : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 ชีวิตในน้ำ
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า ผลงานด้าน SDG 14 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผ่านมา ครองอันดับที่ 9 ของโลก จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย The Impact Ranking ปี 2021 และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังสร้างชื่อให้มหาวิทยาลัยไทยในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนระดับโลก โดยครองอันดับที่ 1 ของเอเชีย และอันดับที่ 23 ของโลก ในการสร้างสรรค์งานวิจัยสู่สังคมไทยและสังคมโลก ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ หัวหน้าโครงการการจัดประชุมและเสวนางานด้าน SDG 14 กล่าวว่า การจัดเสวนาซีรีส์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 ชีวิตในน้ำ นับว่ามีความสำคัญในการสนับสนุนให้นักวิจัยไทยและนักวิจัยชาวต่างประเทศมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางวิชาการ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยการทำงานร่วมกันในระดับชาติและนานาชาติ เกิดผลงานที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า มั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเกิดแนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า การจัดเสวนาในซีรีส์นี้ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนภารกิจของกองการต่างประเทศและนโยบายของ วช. ให้บรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วช. ได้ให้ทุนและสนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SDG 14 ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่สามารถนำมาพัฒนาและจัดการทรัพยากรทางทะเลของประเทศให้เกิดความยั่งยืน
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ Sensory Play เสริมประสบการณ์รับรู้สัมผัส สำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี
5 พ.ย. 67 เวลา 10.00 - 12.00 น.
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญร่วมฟังสัมมนาหัวข้อ “Key Issues in Contemporary Corporate Sustainability Practices: Climate Risk, Human Rights Risk, and ESG Disclosures”
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิเศษ โชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
Chula-SI HUB บ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม Young Sustainability Practitioner รุ่นที่ 4
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้