รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 พฤศจิกายน 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเสวนา Chula The Impact ครั้งที่ 5 เรื่อง “ความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 ของจุฬาฯ นวัตกรรมของไทย ความหวังของโลก” เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ นำเสนอความคืบหน้าล่าสุดของการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งวัคซีน ChulaCov19 วัคซีนชนิด mRNA ประสิทธิภาพสูง โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และวัคซีนจุฬาฯ-ใบยา วัคซีนชนิดโปรตีนซับยูนิตสกัดจากใบพืชชนิดแรกของไทย โดยบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และร่วมเสวนากับวิทยากร ประกอบด้วย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ CEO & Co Founder บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้ร่วมคิดค้นวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืชตระกูลยาสูบ (วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา)
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 วัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ซึ่งดำเนินการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีการทดสอบในอาสาสมัคร 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอายุ 18-55 ปี จำนวน 36 ราย และกลุ่มอายุ 56-75 ปี จำนวน 36 ราย ฉีดวัคซีน 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์ ผลเบื้องต้นในกลุ่มอายุ 18-55 ปี พบว่าวัคซีนกระตุ้นภูมิกันได้ดีมาก ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง โดยอาสาสมัครมีอาการข้างเคียงเล็กน้อยถึงปานกลาง อาการจะดีขึ้นภายใน 1 ถึง 2 วัน นอกจากนี้ยังได้ทดสอบในกลุ่มผู้สูงวัย อายุ 55-75 ปี จำนวน 150 รายด้วย โดยได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อเตรียมการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 3 ต่อไป และมีการเปรียบเทียบกับวัคซีนคู่เทียบ (Pfizer) ทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพและความปลอดภัย ซึ่งจะมีการรับสมัครอาสาสมัครในช่วงเดือนธันวาคม เริ่มทำการทดสอบในช่วงต้นปีหน้าและคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2565 พร้อมๆ กับการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนเข็มกระตุ้น การทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครที่มีอายุน้อยลง การเตรียมความพร้อมขยายกำลังการผลิตวัคซีน ร่วมกับบริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีการเตรียมความพร้อมสำหรับวัคซีนรุ่นที่ 2 และ 3 ที่ตอบสนองต่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มทำการทดลองในสัตว์ทดลอง (หนู) เรียบร้อยแล้ว อีกด้วย
ศ.นพ.เกียรติ กล่าวถึงจุดเด่นของวัคซีน ChulaCov19 คือเรื่องของการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพมาก และสามารถป้องกันเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ทั้งใน B Cells และ T Cells โดยเฉพาะใน T Cells ที่สูงกว่า Pfizer ถึง 2 เท่า หลังฉีดโดสที่ 2 ใน 7 วัน ซึ่งต้องรอพิสูจนือีกครั้งในการทดสอบระยะที่ 3 ต่อไป รวมถึงการออกแบบตัวเนื้อวัคซีนที่ต่างจากวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ไม่ติดในเรื่องของสิทธิบัตร ส่วนตัวห่อหุ้มที่ซื้อสิทธิบัตรมาใช้ก็เป็นเทคโนโลยีล่าสุด รวมถึงสูตรของวัคซีนที่เก็บได้นานกว่า คือสามารถเก็บในอุณหภูมิที่ 2-8 องศาได้นานถึง 3 เดือน
สำหรับเรื่องของงบประมาณ จำนวน 2,300 ล้านบาทที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล ซึ่งมอบอำนาจให้ทางคณะแพทยศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบริหารนั้น ศ.นพ.เกียรติยืนยันว่าจะนำไปจัดสรรใช้อย่างเหมาะสม ทั้งในเรื่องของการพัฒนาวัคซีน การวิจัยในอาสาสมัคร และเรื่องของวัตถุดิบและการผลิตหลังขึ้นทะเบียนกับ อย. โดยคาดว่าจะสามารถขออนุมัติใช้ได้เร็วที่สุดคือช่วงกลางปี 2565 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายน
“บทเรียนที่ผ่านมาของเราคือการที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของคนอื่นไปเรื่อยๆ ถามว่าทำไมต้องพัฒนาวัคซีนเอง จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกๆ ต่อให้มีเงินก็ซื้อวัคซีนไม่ได้ หรือซื้อได้ก็ต้องรอ วันนี้เราอาจจะช้ากว่า แต่ในวันหน้าเราจะพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้นและทันท่วงที เราต้องมองไกล สิ่งนี้คือการลงทุนเพื่อความมั่นคงทางด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เป็นความมั่นคงที่ต้องมีอย่างยั่งยืน” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว
ด้าน ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ CEO & Co Founder บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เผยถึงความคืบหน้าของวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชตระกูลยาสูบสปีชีส์ “N. benthamiana” ซึ่งใช้ระบบการผลิต recombinant protein โดยการตัดต่อพันธุกรรมของแบคทีเรียที่ก่อโรคในพืชในใบยาสูบ ปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบและสร้างโรงงานผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการผลิตวัคซีนจากระบบดังกล่าวสำเร็จเรียบร้อยแล้ว มีกำลังการผลิตจำนวน 1-5 ล้านโดสต่อเดือน ส่วนวัคซีนอยู่ในระหว่างการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 โดยได้เริ่มฉีดให้กับอาสาสมัครช่วงอายุ 18-60 ปี จำนวน 96 ราย ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ยังอยู่ในช่วงการติดตามผลทั้งเรื่องของความปลอดภัยและประสิทธิภาพ (50 วัน) เบื้องต้นยังไม่พบผลข้างเคียงที่น่ากังวล แต่เรื่องของประสิทธิภาพยังต้องรอข้อมูล สำหรับการทดสอบในเฟสที่ 2 ในกลุ่มผู้สูงอายุ (61-75 ปี) ก็เริ่มมีการรับอาสาสมัครแล้วแต่ยังได้อาสาสมัครไม่ครบ เนื่องจากผู้สูงวัยใน กทม. ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนเกือบครบแล้ว ทั้งนี้การทดสอบในมนุษย์ของวัคซีนใบยามี ศ.นพ.เกียรติ ร่วมเป็นนักวิจัยทางคลินิกด้วย นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้พัฒนาวัคซีนรุ่นที่สอง โดยปรับปรุงสูตรให้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น และมีการพัฒนาจากเชื้อไวรัสกลายพันธุ์มากกว่า 10 รูปแบบ เพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนผสม (Cocktail vaccine) ซึ่งปัจจุบันวัคซีนรุ่นที่สองก็ได้รับการพัฒนาขึ้นแล้ว และมีการทดสอบในอาสาสมัครเฟสแรกในช่วงเดือนมกราคม 2565 เพื่อคัดเลือกวัคซีนตัวที่ดีที่สุดไปทดสอบในเฟสที่ 2 ต่อไปในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
สำหรับจุดเด่นของวัคซีนจุฬาฯ-ใบยา คือเป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มและองค์ความรู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนและผลิตได้หลากหลายทั้งวัคซีนและยารักษาโรคต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในทางการแพทย์ หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน และพบวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 คาดว่าจะสามารถขออนุมัติให้ใช้ได้ อย่างเร็วที่สุดในไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ของปี 2565
“เราไม่เคยพัฒนายาใหม่หรือวัคซีนขึ้นเองได้ แต่ตอนนี้เราทำได้ในระยะเวลาแค่สองปี ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีและภาคภูมิใจ แต่เราจะทำไม่ได้เลยหากไม่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหรือระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาที่มีมาก่อนหน้านี้ ถึงแม้วันนี้มันจะยังไม่ดีที่สุด แต่เราเริ่มเห็นแล้วว่าประเทศเราต้องขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และวิทยาศาสตร์ที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 เครือข่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกระดับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมของจุฬาฯ
นิสิตเก่าศศินทร์ พลิกโฉมธุรกิจรับสร้างบ้าน เน้นนวัตกรรมเพื่ออยู่อาศัยอย่างยั่งยืน”
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเจตนารมณ์ “No Gift Policy” มุ่งเสริมธรรมาภิบาล ต่อต้านการทุจริต
จุฬาฯ จับมือ ม.มหิดล “Together for Sustainable Tomorrow” ลงนามความร่วมมือทางวิชาการและจัดกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ ชวนร่วม โครงการ “Interactive Training and Gaming Simulation for Green Transition”
จุฬา และ สสว.ลงนามความร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการ “One Click”นำ AI ยกระดับ SMEs เข้าถึงสินเชื่อสีเขียวในคลิกเดียว
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้