รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 พฤศจิกายน 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Special Award และ Gold Medal จากผลงาน “Sericin and chitosan cream for preventing and limiting the progressive of pressure sore” ในงาน International Invention & Trade Expo 2021, London ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้
“Sericin and chitosan cream for preventing and limiting the progressive of pressure sore” หรือ “ครีมป้องกันการเกิดบาดแผลและลดการลุกลามของแผลกดทับจากโปรตีนกาวไหมและไคโตซาน” เป็นนวัตกรรมที่นำโปรตีนกาวไหมซึ่งมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ลดการอักเสบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บาดแผลหาย มาผสมกับไคโตซานซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาเป็นครีมที่สามารถก่อเป็นฟิล์มบาง ๆ เคลือบที่ผิวหนังเพื่อลดการเสียดสีและปกป้องผิวหนังจากความอับชื้น สำหรับป้องกันและลดการลุกลามของบาดแผลกดทับ รวมถึงป้องกันผิวหนังจากการกัดของเอนไซม์ที่มีอยู่ในอุจจาระด้วย ผลจากการศึกษาทางคลินิกพบว่าครีมดังกล่าวสามารถลดความเจ็บปวดของบาดแผลได้อย่างมีนัยสำคัญหลังการใช้นาน 3 สัปดาห์ อีกทั้งยังสามารถลดความแดง (erythema) และการบวม (edema) ของบาดแผลได้อย่างมีนัยสำคัญในสัปดาห์ที่ 3 หลังการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับความแดงและการบวมก่อนการรักษา โดยไม่มีการรายงานถึงอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
อธิการบดีจุฬาฯ พบประธานคณะที่ปรึกษารัฐบาลบังกลาเทศ และนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล พูดคุยความร่วมมือจุฬาฯ กับโครงการธนาคารเพื่อคนจน
นิทรรศการ “ปฐมกาล ผ่านสายตาสยามและเปอร์เซีย” ณ พิพิธภัณฑ์จุฬาฯ เล่าตำนานจากการตีความผ่านภาพวาดของสองศิลปินจากประเทศไทยและอิหร่าน
ศศินทร์จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ EFMD Social Impact 2025
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบประธานคณะที่ปรึกษารัฐบาลบังกลาเทศและนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เชิญร่วมงานสัมมนาที่จุฬาฯ
“จุฬาลงกรณ์ x โนโว นอร์ดิสค์” ยกระดับการจัดการโรคอ้วนด้วยนวัตกรรม
จุฬาฯ จัดงานแสดงความยินดีบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้จุฬาฯ ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้